สะพานยีลาปันอยู่บนถนนสาย 410 (ยะลา-เบตง) บริเวณบ้านยีลาปัน เริ่มสร้างปี พ.ศ.2484 และเสร็จปี พ.ศ.2493 โดยกองทัพญี่ปุ่นเป็นผู้สร้างในสมัยนายถวัลท์ หงสกุลเป็นนายช่างเขตสงขลาและนายไสว ถีนานนท์เป็นนายช่างแขวงการทางยะลา ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 10 ปี เนื่องจากอยู่ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา แต่เดิมใช้สัญจรข้ามแม่น้ำปัตตานีโดยใช้แพไม้บังคับด้วยลวดสลิง ซึ่งมีนายประมุข เลขะกุลเป็นผู้ลงทุนเก็บผลประโยชน์ในขณะนั้น
ต่อมากรมทางหลวงได้สร้างเป็นสะพานเหล็กพื้นคอนกรีตปูทับด้วยยางมะตอย สะพานนี้ทำการซ่อมครั้งแรกปี พ.ศ.2512 โดยเปลี่ยนไม้ปูทับพื้นสะพานที่ชำรุด 2 ช่วง และซ่อมครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2513 โดยเสริมพื้นสะพานทั้งหมดตลอดความยาวด้วยเหล็กรวงผึ้ง
คนในพื้นที่รู้จักกันในชื่อ สะพานยีลาปัน ซึ่งเรียกตามชื่อหมู่บ้านที่สะพานนี้ตั้งอยู่ แต่สะพานเหล็กดังกล่าวก็มีชื่อเป็นทางการด้วย นั่นคือ"สะพานหงสกุล" ปัจจุบันทุกตอนเย็นจะมีผู้คนในละแวกขี่จักรยานหรือมอเตอร์ไซค์มาแวะพักบนสะพานแห่งนี้ ตัวสะพานยีลาปันยังขนานคู่กับสะพานคอนกรีตที่มีรถสัญจรไปมาเหนือแม่น้ำปัตตานีด้วย นอกจากนี้ บริเวณริมถนนช่วงคอสะพานยีลาปันมีเพิงไม้ขายของกินและเครื่องดื่มสำหรับใครที่อยากหาอะไรรองท้อง
จากอำเภอเมืองยะลา ถ้าใครต้องการไปอำเภอธารโตหรือเบตง แน่นอนว่าคุณต้องเห็นสะพานยีลาปันอยู่ทางขวามือแน่นอน ซึ่งเป็นสะพานเหล็กที่ชาวบ้านในละแวกต่างขี่มอเตอร์ไซค์ ปั่นจักรยาน รวมทั้งเดินมาสะพานเพื่อพักผ่อน พูดคุย และชมบรรยากาศแม่น้ำปัตตานีช่วงแดดร่มลมตกของทุกวัน
บน – ภาพสะพานยีลาปันเมื่อมองจากฝั่งอำเภอบันนังสตามุ่งสู่อำเภอธารโตและเบตงเบื้องหน้า
เรามาดูรายละเอียดสะพานเหล็กแห่งนี้กัน
ซ้ายบน – สะพานฝั่งที่ติดกับแม่น้ำปัตตานี(ซึ่งกำลังไหลสู่อำเภอกรงปีนังต่อไป)
ขวาบน – สะพานฝั่งที่ขนานกับสะพานคอนกรีตที่รถราใช้สัญจรไปมาระหว่างอำเภอต่างๆ ซึ่งสะพานคอนกรีตแห่งนี้คือส่วนหนึ่งของถนนสาย 410 นั่นเอง
ซ้ายกลาง – ทางเดินบนสะพานเหล็ก ซึ่งบางช่วงก็โปร่งและมองทะลุถึงด้านล่างได้ (ยกเว้นช่วงกลางสะพานจะทึบ มองไม่เห็นด้านล่าง)
ซ้ายล่าง – ภาพของสะพานยีลาปันที่มองจากฝั่งอำเภอธารโตและเบตงไปทางอำเภอบันนังสตาเบื้องหน้า
ขวากลาง – บนสะพานเหล็กนี้ จักรยานและมอเตอร์ไซค์สามารถสัญจรไปมาได้อย่างที่เห็น
ขวาล่าง – อย่างที่บอกไว้ว่า ช่วงเย็นๆที่แดดไม่แรง กลุ่มเด็กและวัยรุ่นต่างขี่มอเตอร์ไซค์มาจอดบนสะพาน หลายคนพูดคุยเฮฮาและนั่งเล่นกันตามประสา
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
391 | 5328 | 297720 |