(สามารถคลิกอ่านคำอธิบายของกินของใช้ได้ที่"คำอธิบาย")
ตั้งแต่เช้ามืดจะมีผู้คนหลั่งไหลมารวมกันที่หมู่บ้านมอญท่ามกลางอากาศเย็นตั้งแต่ศาลาที่พัก(ติดกับสะพานมอญ)ไปตามเส้นทางคอนกรีตบนถนนสะพานไม้ ทางเดินเลียบข้างสะพานมอญ และเส้นทางริมแม่น้ำซองกาเลียในเขื่อนวชิราลงกรณ์ ตลอดทางเหล่านี้มีร้านค้าและแผงลอยของกินของใช้ต่างๆมากมาย
เริ่มตั้งแต่บนถนนสะพานไม้มีขนมพม่า เสื้อผ้าชาวเขา อาหารยามเช้า เสื้อผ้าชาวมอญ งานบริการ เครื่องประดับชายหญิง เครื่องดื่ม ของแห้ง สินค้าที่ระลึก ขนมและอาหารมอญ อาหารทั่วไป ชากาแฟ ของแห้งจากพม่า งานแฮนด์เมด เสื้อที่ระลึกสะพานมอญ เครื่องแต่งกายชายหญิง ของตกแต่ง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิวพม่า และกระเป๋า
ขณะเดียวกันทางเดินเลียบข้างสะพานก็มีของกินและสินค้าคล้ายคลึงกับบนถนนสะพานไม้ เริ่มตั้งแต่เสื้อผ้าที่ระลึกหมู่บ้านมอญและสะพานมอญ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิวพม่า เสื้อผ้าชาวมอญ ขนมพม่า ของแห้งจากพม่า เครื่องแต่งกายชายหญิง เครื่องดื่ม ชากาแฟ ของตกแต่ง กระเป๋า เสื้อผ้าชาวเขา ขนมชาวมอญ ของนึ่ง อุปกรณ์มือถือ งานแฮนด์เมด ไปจนถึงอุปกรณ์บำบัดสุขภาพ
ส่วนเส้นทางเดินริมแม่น้ำซองกาเลียมีเสื้อผ้าชาวเขา เสื้อที่ระลึกสะพานมอญ เสื้อผ้าชาวมอญ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิวพม่า และของตกแต่งจากไม้
อนึ่ง กิจกรรมที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือ ชุดตักบาตรที่วางจำหน่ายเรียงรายอยู่บนเก้าอี้และโต๊ะพับ โดยจะมีพระสงฆ์จากวัดวังก์วิเวการามออกมาบิณฑบาตในตอนเช้า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงมารอตักบาตรบนถนนสะพานไม้ในหมู่บ้านมอญกันอย่างเนืองแน่น
ตั้งแต่เช้ามืด ผู้คนต่างมารวมพลที่หมู่บ้านมอญเพื่อหาของกินของใช้และตักบาตรยามเช้ากัน ดังนั้นเราต้องตื่นเร็วกว่าปกติเพื่อไปให้ทันบรรยากาศ นี่ขนาดไม่ใช่ภาคเหนือ แต่อากาศเดือนธันวาคมที่อำเภอสังขละบุรีก็เย็นเอาเรื่อง ทั้งหมอก ทั้งลม ไม่ต่างกันเลย
บน – ฟ้ากำลังสว่าง แดดยังไม่มา อากาศสลัวๆ แต่ผู้คนจากสะพานมอญกำลังข้ามมาสมทบจนถนนในหมู่บ้านมอญแทบไม่มีที่ยืน คนล้นหลามจริงๆ ส่วนร้านค้าทั้งสองฟากต่างเปิดหลอดไฟหน้าร้านตั้งแต่เช้ามืดต้อนรับลูกค้าทั่วทุกทิศ (จากภาพ ทีมงานกำลังยืนหันหน้าเข้าหมู่บ้านมอญ ทางซ้ายเป็นหน้าร้านขายเสื้อผ้าและเครื่องประดับมากมาย ตรงกลางเป็นคลื่นมหาชนที่เดินบนถนนสะพานไม้ ขณะที่ขวามือคือริมทางที่หลายคนนั่งกินมื้อเช้าอยู่)
- ตอนนี้ขอเริ่มสำรวจของรองท้องก่อน
ซ้ายบน – โจ๊กหมูร้อนๆคืออาหารยอดฮิต (นอกจากนี้ บางร้านยังมีโจ๊กมอญด้วย)
ขวาบน - ในสี่หม้อนี้ เราจะเห็นแกงฮังเลมอญ(หรือเปิ้นควะ)ที่กินคู่กับโรตีโอ่งหรือจะราดข้าวสวยก็ไม่ผิด นอกจากนี้ยังมีแกงราดข้าวอีกสามหม้อคือ แกงพะแนง แกงมัสมั่น และแกงไข่พะโล้มอญ
ขวากลาง - ร้านนี้ก็เช่นกัน นอกจากโจ๊กแล้ว ยังมีเมนูขนมจีนราด(น้ำยาหยวก น้ำยาปลา และแกงเขียวหวาน)ด้วย
ซ้ายล่าง – ป้าชาวมอญยืนทำ“ปะลอมมิเจ๊าะ”อยู่ ส่วนผสมก็มีข้าวเหนียวดำ งาดำ น้ำตาล และมะพร้าวขูดฝอย ใครสนใจอยากกินเล่นๆ ก็ลองจัดดูหนึ่งถ้วย
ขวาล่าง – แผงนี้จำหน่ายขนม ของกินเล่น และเครื่องดื่มเป็นห่อจากพม่าไว้เป็นของฝากดังนี้ ขนมตุ้บตั้บ ถั่วตัด ถั่วตัดรสเนยหวาน คุ้กกี้สอดไส้ แครกเกอร์ ชานม และกาแฟ
ยังอยู่บนถนนสะพานไม้ แต่คราวนี้ไปดูหมวดของใช้บ้าง
ซ้ายบน – หน้าร้านนี้จำหน่ายของตกแต่ง เครื่องประดับ และสินค้าพื้นเมือง จุดประสงค์มีทั้งความเก๋ไก๋ ความสวยงาม วัฒนธรรม ไปจนถึงความเชื่อ เช่น หุ่นกระบอกมอญ กำไล กระเป๋า เครื่องรางดักจับความฝัน ตัวห้อยกระเป๋า สร้อย ฯลฯ หลายอย่างมีส่วนประกอบของลูกสะบ้ามาเพิ่มสีสัน ที่เหลือก็มีปากเป็ดและหงอนไก่
ขวาบน – ในบรรดาสินค้าต่างๆ ชุดชาวเขาแฟชั่นทั้งเด็กเล็ก เด็กโต และผู้ใหญ่มีให้จับจ่ายเยอะที่สุด
ซ้ายกลาง – ร้านนี้รวบรวมสินค้าหลายอย่างไว้ในที่เดียว เช่น กระเป๋าผ้า พวงกุญแจ ชุดชาวเขา ตัวห้อยกระเป๋า ฯลฯ
- ทัศนาข้าวของบนถนนสะพานไม้แล้ว ตอนนี้ได้ฤกษ์ไปดูแผงเลียบสะพานมอญ(ที่จะเดินลงแม่น้ำซองกาเลีย)ต่อ
ขวากลางบน - เส้นทางไหนก็มีแต่นักท่องเที่ยวทั้งนั้น คนแน่นทุกที่ (จากภาพ ซ้ายมือเป็นสะพานมอญ ส่วนใต้สะพานมีแผงลอยเลียบข้างสะพานตลอดสาย ขณะที่ฝั่งขวาเป็นบ้านและห้องแถวชั้นเดียวเปิดหน้าร้านครบครัน)
ขวากลางล่าง – เสื้อที่ระลึกสะพานมอญไม่หนีไปไหน (กางเกงผ้าพลิ้วและเสื้อกะเหรี่ยงก็มีเช่นกัน)
ซ้ายล่าง – เจ้านี้ขายเครื่องประดับ ของตกแต่ง และของใช้ต่างๆ เช่น กระดานเขียน ลูกกลิ้งนวดผิว สร้อยข้อมือ แหวน กำไล หวี ผ้าขาวม้า เข็มขัดเงิน โบว์มัดผม ฯลฯ และเหนือสิ่งอื่นใดที่เห็นเกือบทุกแผงก็คือแป้งทานาคา สบู่ทานาคา และไม้ทานาคาสด
ขวาล่าง - ปลาใบอ้อยแห้งและปลาหัวยุ่งแห้งจากพม่า ส่งตรงมาให้คนไทยได้ชิมกัน
ยังเหลืออีกหนึ่งแผงข้างสะพานมอญ
ซ้ายบน – พี่ซุ้มนี้มีชา กาแฟ โกโก้ น้ำบ๊วย มะนาว น้ำผลไม้(จากหัวเชื้อ) และน้ำหวาน
- จากนั้น เราเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางดินริมแม่น้ำซองกาเลีย ซึ่งเป็นทางเดินช่วงท้าย
ขวาบน - ผู้คนยังหนาตาเหมือนเดิม สองข้างทางมีร้านรวงต่อเนื่อง (จากภาพ ทางซ้ายเป็นแผงลอยใต้ร่มตลาดนัด ขณะที่ทางขวาเป็นเพิงไม้)
ซ้ายกลาง – บอกแล้วว่าชุดชาวเขาทั้งเด็กเล็ก เด็กโต และผู้ใหญ่มีให้เห็นเรื่อยๆ
ขวากลาง – ของตกแต่งและของใช้จากงานไม้ เช่น ชามพับใส่ผลไม้ เรือสำเภา กล่อง ที่วางไม้เท้า ตัวแขวน ฯลฯ
กลาง – นอกจากสินค้าที่กล่าวมาข้างต้น กิจกรรมตักบาตรในหมู่บ้านมอญก็ได้รับความนิยมสูง บรรดาแม่ค้าที่รับจัดชุดตักบาตรจะอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวด้วยเก้าอี้ให้นั่ง(รอพระสงฆ์ออกบิณฑบาตจากวัดวังวิเวการาม)เป็นทางยาวตลอดสองข้างทางบนถนนสะพานไม้ นักท่องเที่ยวสามารถจองล่วงหน้ากับแม่ค้าหรือซื้อในเช้าวันตักบาตรก็ได้ (บางเจ้ามีโปรโมชั่นซื้อชุดตักบาตร แถมชุดมอญใส่ตักบาตรเพื่อให้กลมกลืนกับบรรยากาศด้วย) ทั้งนี้เราจะเตรียมชุดตักบาตรมาเองก็ได้ แต่ต้องอำนวยความสะดวกทุกอย่างด้วยตนเอง
ซ้ายล่าง – ขณะที่นักท่องเที่ยวนั่งรอพระออกบิณฑบาต โต๊ะจำหน่ายชุดตักบาตรก็ตั้งเป็นทางยาวหลายเจ้า โดยชุดตักบาตรที่แม่ค้าส่วนใหญ่เตรียมไว้ก็มีข้าวสวยในโถพร้อมทัพพี ขนมปังสอดไส้ ปลากระป๋อง เลเยอร์เค้ก ทิชชู่ น้ำผลไม้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บิสกิต นมกล่อง แครกเกอร์ น้ำดื่ม ธูปหนึ่งห่อ และดอกไม้สด เช่น กล้วยไม้ เบญจมาศ ฯลฯ
ขวาล่าง – แล้ววินาทีสำคัญก็มาถึงเมื่อพระเดินบิณฑบาตมาถึงถนนสะพานไม้ ผู้คนที่เตรียมชุดตักบาตร(หรือชุดใส่บาตรมาเอง)ต่างยืนรอตั้งแต่ต้นทาง ส่วนใครที่นั่งรออยู่ เตรียมยกสำรับได้เลย
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
388 | 5325 | 297717 |