วนอุทยานเขากระโดงมีซากภูเขาไฟโบราณที่มีสภาพดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทยราว 3-9 แสนปี ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏร่องรอยปากปล่องภูเขาไฟให้เห็นชัดเจน วนอุทยานแห่งนี้ประกอบด้วยเนินเขาสองลูกติดกันคือ เขาใหญ่เป็นขอบปล่องภูเขาไฟด้านทิศใต้ และเขาน้อย(หรือเขากระโดง)เป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือ ตัวปล่องเป็นหุบเขาอยู่ตรงกลาง มีเนื้อที่ราว 80 ไร่ บริเวณทั้งหมดจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อปี พ.ศ.2521 ครอบคลุมเนื้อที่ 1,450 ไร่ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2523 ได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
อนึ่ง คำว่า“เขากระโดง”เดิมเรียกเป็นภาษาเขมรว่า“พนมกระดอง”หมายถึงภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนกระดองเต่า
พูดถึงภูเขาไฟในประเทศไทย เราอาจรู้สึกไกลตัวอยู่ แต่พอมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับภูเขาไฟในเมืองไทยขึ้นมา ความน่าสนใจก็เกิดทันที วันนี้เลยขออุดหนุนรถสองแถวสีชมพูสาย 1 จากหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์มาที่นี่ แถมรถยังผ่านปากทางเข้าพอดิบพอดี
- หลังจากเดินขึ้นบันไดนาค 297 ขั้นจากปากทางเข้าวนอุทยานเขากระโดง(ซึ่งทุก 15 ค่ำเดือน 5 จะมีประเพณีเดินขึ้นเขากระโดงและช่วงออกพรรษาของทุกปีจะมีพิธีตักบาตรเทโวด้วย) แล้วเดินต่อมาอีกสักระยะ ก็จะพบวนอุทยานเขากระโดง
บน – ภาพเขากระโดงจากมุมสูงบนสะพานแขวนชมวิว เราสามารถเห็นปากปล่องภูเขาไฟอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน รอบปล่องภูเขาไฟก็มีทางให้นักท่องเที่ยวเดินอยู่ (จากภาพ สำหรับปล่องภูเขาไฟนี้เชื่อกันว่า ในอดีตเคยเป็น“สระอ้อย”ในตำนานความรักแห่งเมืองบุรีรัมย์ นั่นคือตำนานท้าวปาจิตกับนางอรพิม โดยเป็นเรื่องราวของนางอรพิมที่พลัดพรากจากท้าวปาจิตและเร่ร่อนอยู่กลางป่า ตามลำพัง นางเกรงว่าตัวเองจะเป็นอันตราย จึงแปลงกายเป็นเพศชาย เมื่อมาถึงเมืองจำปาก นางอรพิมได้ใช้รากสมุนไพรรักษาพระธิดาเจ้าเมืองที่ถูกงูกัดจนรอดชีวิต กษัตริย์เมืองจำปากจึงยกพระธิดาให้อภิเษกด้วย แต่นางบ่ายเบี่ยงและขอลาบวชจนได้สมณศักดิ์เป็นสังฆราช เมื่อท้าวปาจิตเดินทางมาพบสังฆราช นางอรพิมจึงอธิษฐานขอกลับเป็นเพศหญิงตามเดิม ณ บริเวณเนินงิ้วและสระอ้อยใต้ต้นสำโรง ทั้งสองจึงกลับมาครองรักกัน และนอกจากสระอ้อยแล้ว ต้นสำโรง(หรือมะกอกโคก)ก็ขึ้นอยู่บนเขากระโดงเช่นกัน)
เดินชมปล่องภูเขาไฟต่อ
ซ้ายบน – จุดนี้เป็นภาพแรกที่ทุกคนจะได้เห็น สะพานแขวนอยู่เบื้องหน้า ขณะที่ด้านล่างคือปากปล่องภูเขาไฟ สภาพป่ารอบปล่องภูเขาไฟเป็นป่าเต็งรัง (จากภาพ นักท่องเที่ยวนับสิบคนบนสะพานแขวนกำลังถ่ายรูปอย่างเพลิดเพลิน)
ขวาบน – ตอนนี้มาถึงสะพานแขวนแล้ว เดี๋ยวเราขึ้นไปเดินบนสะพานแขวนดูปล่องภูเขาไฟและถ่ายรูปคู่กับสะพานกัน
ซ้ายกลางบน – บรรยากาศทางเดินบนสะพานแขวน
- บนเขากระโดงยังมีอะไรให้พูดถึงอีกเยอะ
ซ้ายกลางล่าง – พระสุภัทรบพิตรประทับอยู่ทางทิศเหนือของปล่องภูเขาไฟ (จากภาพ บนยอดสูงสุดของเขากระโดงที่ระดับความสูง 265 เมตรเป็นที่ประดิษฐานพระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่บ้านคู่เมืองซึ่งสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 พุทธศาสนิกชนทั่วไปต่างมาสักการะบูชากัน นักท่องเที่ยวยังสามารถเห็นทัศนียภาพของเมืองบุรีรัมย์โดยรอบได้)
ขวากลาง – รอยพระพุทธบาทจำลององค์เดิมสร้างเมื่อปี 2448 โดยพระยาประเสริฐ เจ้าเมืองบุรีรัมย์และประดิษฐานอยู่ในปรางค์หินทราย แต่ตัวปรางค์หินทรายได้พังทลายและรอยพระพุทธบาทจำลองสูญหาย ในปี พ.ศ.2505 คุณหญิงเจือพร้อมด้วยบุตรธิดาของพระยาประเสริฐจึงสร้างรอยพระพุทธบาทจำลององค์ใหม่ขึ้นมา มีขนาดยาว 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 1 ศอก และสร้างมณฑปครอบทับไว้ โดยมีหินทรายของปรางค์เดิมเรียงอยู่รอบมณฑป)
ซ้ายล่าง – “สิไหลเด้อ”เป็นชื่อของสไลเดอร์สำหรับเด็กๆได้เล่นกันบนเขากระโดง
- ได้เวลาช้อปปิ้งแล้ว
ขวาล่าง – บนถนนเข้าสู่วนอุทยานเขากระโดง ก่อนถึงทางขึ้นบันไดนาค จะมีโซนร้านค้าและแผงลอยทั้งซ้ายและขวาของถนน โดยริมถนนทางซ้ายเป็นเต็นต์ใหญ่เลียบถนน สินค้าเป็นอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม ขณะที่ฟุตบาททางขวาเป็นแผงลอยและรถพ่วงข้าง ส่วนใหญ่เป็นของกินเล่น ผลไม้หั่นชิ้น และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีโซนร้านค้าเข้าไปในพื้นที่โล่งด้านหลังกำแพง(จากริมฟุตบาต)ทางขวาด้วย ซึ่งมีนับสิบๆร้าน ลักษณะเป็นเพิงโครงเหล็กแบ่งเป็นล็อกๆติดกันตลอดแนวกำแพงด้านใน หน้าร้านแต่ละเจ้าก็หันเข้าด้านใน โดยร้านที่เลียบกำแพงก็มีหน้าร้านเล็กๆที่หันมาทางกำแพงริมฟุตบาทอีก แต่ก็มีร้านค้าที่ไม่ติดกำแพงอยู่ด้านในด้วย สินค้าโซนนี้มีของใช้และสินค้าที่ระลึกเป็นหลัก แต่ก็มีของกินบ้าง แต่ถ้าเราเดินขึ้นบันไดนาคไป บนเขากระโดงยังมีอาคารชั้นเดียวหนึ่งหลังที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก ของกินเล่น เครื่องดื่ม และของใช้อีก
รายการสินค้า - สินค้าด้านล่างก่อนขึ้นบันไดนาค หมวดอาหารมีข้าวผัด กะเพรา(หมูไก่หมึกหมูกรอบและเครื่องใน) ไข่เจียวหมูสับ ผัดพริกแกง ข้าวไข่เจียว ผัดมาม่า คะน้าหมูกรอบ ผัดซีอิ๊ว ราดหน้า สุกี้ หมูทอดกระเทียม ผัดไทย ตำหมูยอ ตำถั่ว ตำทะเล ตำป่า ตำลาว ตำไทย ตำซั่ว ตำปูปลาร้า และก๋วยเตี๋ยว ของกินเล่นมีลูกชิ้น(หมูและเนื้อ)ทอด ไส้กรอกทอด และหอยจ๊อทอด เครื่องดื่มใส่แก้วน้ำแข็งหรือวางขายบนโต๊ะมีโค้ก แฟนต้า(น้ำส้ม น้ำแดง และน้ำเขียว) เป๊ปซี่ สไปรท์ เอส และน้ำดื่มคริสตัล ของกินอื่นๆมีลูกชิ้นระเบิด ข้าวเกรียบ หมูกระจก ทองม้วนกรอบ มะยมหวานเสียบไม้ ขนมโก๋ โดนัต ไข่เค็ม ปลาร้าขวด ไข่เยี่ยวม้า เส้นขนมจีน ถั่วปากอ้อ ถั่วลิสงอบกรอบ และกล้วยตาก ผลไม้หั่นชิ้นมีแตงโม มะม่วง แคนตาลูป ฝรั่ง สับปะรด และชมพู่ ส่วนขนมขบเคี้ยวมีเลย์รสโนริสาหร่ายและสแน็กแจ๊กรสดั้งเดิม ของใช้และสินค้าที่ระลึกมีเสื้อพื้นเมือง เสื้อคนแก่ เสื้อกะเหรี่ยง สร้อยคอ หมวกแฟชั่น แว่นตา หมวกแก๊ป เสื้อที่ระลึกเขากระโดง เสื้อที่ระลึกจังหวัดบุรีรัมย์ เสื้อทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด ผ้าถุง พัดลมพกพา งอบ หูฟัง ผลิตภัณฑ์ทำจากไม้(เช่น ไม้นวดตามร่างกาย ที่เกาหลัง เสื่อพับ ทัพพี ไม้พาย ดาบไม้ ฯลฯ) กระเป๋า สร้อยข้อมือ แหวน กระบวย ที่คาดผม ยางรัดผม ย่าม โหวด เข็มขัดเงิน เสื้อเด็ก แก้วน้ำ กระเป๋าสะพาย รองเท้าผักตบชวา ภาพถ่าย ร่ม รองเท้าแตะแบบหนีบ กระเป๋าคาดเอว ของเล่นเด็กและของเล่นตอกแผง(เช่น ปืน ตัวต่อ หน้ากาก กุญแจมือ จิ้งจกยาง ที่เป่าฟองสบู่ ฯลฯ) แคน สายยูเอสบี และพวงกุญแจ ส่วนสินค้าในอาคารบนเขากระโดง คร่าวๆเริ่มจากเครื่องดื่มในตู้เย็นมีสแปลชรสส้ม ชเวปส์ แฟนต้า(น้ำเขียว น้ำแดง และน้ำส้ม) เป๊ปซี่ สไปรท์ โค้ก มินิทเมดพัลพี น้ำดื่มน้ำทิพย์ ลิปตันไอซ์ที บีทาเก้น ดัชชี่รสสตรอว์เบอร์รี เย็นเย็นสูตรจับเลี้ยง โออิชิรสน้ำผึ้งมะนาว ลิโพ เอ็มร้อยห้าสิบ สปอนเซอร์ และแมนซั่ม(สูตรคอลลาเจนและสูตรวิตามินบีรวม) ของกินเล่นอื่นๆมีโรลเลอร์โคสเตอร์ โปเต้ เทสโต้ พริงเกิลส์ ไวไวควิก ล็อตเต้ โคอะลามาร์ช โดโซะ แจ๊กส์ เลย์รสโนริสาหร่าย คาลบี้ โก๋แก่ ป๊อกกี้ ช็อกโกพาย ถั่วปากอ้าโก๋แก่ ทาโร่ และฮานามิ ส่วนสินค้าอื่นๆยังมีทิชชู่ โปสการ์ด เสื้อที่ระลึกภูเขาไฟกระโดง เสื้อที่ระลึกบุรีรัมย์ หมวกแก๊ป หมอนเป็ดเหลือง ไข่เค็มภูอัคนี รองเท้าผักตบชวา เข็มขัดเงินและทอง สติกเกอร์บุรีรัมย์ เสื้อพื้นเมือง แคน ย่าม โมบายตุ๊กตากะลา ร่ม ดินสอที่ระลึก หมวกแก๊บ และสลากกินแบ่ง
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
385 | 5322 | 297714 |