ธาตุตาดทอง(หรือ"ธาตุถาดทอง")ที่หลายคนรู้จักในชื่อ"ธาตุก่องข้าวน้อย"เป็นเจดีย์เก่าแก่สมัยขอม สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23-25 ลักษณะสถาปัตยกรรมธาตุตาดทองเป็นเจดีย์มณฑปยอดบัวเหลี่ยมในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสร้างแบบก่ออิฐถือปูน ส่วนฐานตอนล่างเป็นฐานเขียงรองรับฐานบัวท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ ขณะที่มณฑปทำย่อเก็จ(ซึ่งมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ) สำหรับยอดซุ้มหน้านาง ภายในประดับด้วยปูนปั้นลายพรรณพฤกษา เสาซุ้มเป็นลายแสงตะวันประดับกระจก บริเวณยอดเป็นบัวเหลี่ยม ทำย่อเก็จเป็นรูปบัวเหลี่ยม มีเครื่องยอดซ้อนกัน 3 ชั้น
โดยรอบธาตุตาดทองมีใบเสมาสมัยทวารวดีและกลุ่มเจดีย์จำลองทรงบัวเหลี่ยม ด้านหน้าธาตุตาดทองยังมีอูบมุงแบบพื้นถิ่นอีสาน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสานด้วย เอกลักษณ์ของธาตุตาดทองมีความคล้ายกับพระธาตุศรีโคตรบูรณ์ที่แขวงคำม่วนประเทศลาวและพระธาตุอานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
สำหรับความเป็นมาของธาตุตาดทองอาจเกี่ยวเนื่องกับประวัติการสร้างพระธาตุพนมดังนี้
หลังจากทราบข่าวการบูรณะพระธาตุพนม ผู้คนในอำเภอรัตนบุรีก็รวบรวมวัตถุมงคลเพื่อนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม แต่เมื่อเดินทางถึงบ้านตาดทอง ชาวรัตนบุรีก็พบชาวบ้านสะเดาในตำบลตาดทอง(ที่ไปช่วยบูรณะพระธาตุพนม)เดินทางกลับมาเนื่องจากการบูรณะพระธาตุพนมเสร็จสิ้นแล้ว ทุกคนจึงพร้อมใจสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุของมีค่าที่นำมาแทน ชาวบ้านสะเดาได้นำถาดทอง(ที่ใช้อัญเชิญของมีค่าเพื่อนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม)มารองรับของมีค่าที่ชาวรัตนบุรีจะนำไปบรรจุในเจดีย์(ที่กำลังสร้าง) จึงเรียกธาตุแห่งนี้ว่า“ตาดทอง”หรือ“ถาดทอง”
และอาจเกี่ยวข้องกับนิทานพื้นบ้าน“ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่”ด้วย เรื่องของลูกชายที่ทำนาตั้งแต่เช้า แต่มารดามาส่งข้าวสาย จึงหิวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้ลูกชายกระทำมาตุฆาตด้วยเหตุเพียงเพราะข้าวที่นำมาน้อยเกินไป แต่เมื่อกินอิ่ม ข้าวก็ยังไม่หมด ถึงได้สติและสำนึกผิด จึงสร้างเจดีย์เพื่ออุทิศส่วนกุศล ขออโหสิกรรม และเป็นการล้างบาป
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานธาตุตาดทองในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479 และประกาศกำหนดเขตที่ดินในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ.2545
ตั้งแต่ประถม ทีมงานก็ได้ยินนิทาน“ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่”แล้ว แต่พอมาสัมผัสสถานที่จริง ถึงรู้ข้อมูลจากชาวบ้านและผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ที่นี่ไม่น่าจะใช่ธาตุ“ก่องข้าวน้อย” แต่กลับเป็นธาตุอีกแห่งในวัดทุ่งสะเดา ถึงแม้ธาตุแห่งนี้จะมีชื่อเสียงตามนิทานพื้นบ้านก็ตาม แต่ด้วยชื่อเสียงและความสวยงามของธาตุเอง ก็ทำให้ผู้คนแวะเวียนมาไม่ขาดสาย
บน – ธาตุตาดทองเป็นเจดีย์ที่ออกแบบงดงาม ตั้งอยู่บนพื้นที่กลางทุ่งนาในตำบลตาดทองและแวดล้อมด้วยต้นไม้ร่มรื่น (อนึ่ง เราไม่ควรเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า“พระธาตุ”เนื่องจาก ภายในเจดีย์มิได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ(หรือพระอัฐิของพระพุทธเจ้า)ไว้ แต่เป็นการบรรจุสิ่งของมีค่าตามประวัติการสร้างพระธาตุพนมหรือสร้างเพื่อขออโหสิกรรมกับความผิดที่ก่อขึ้นตามนิทานพื้นบ้าน ดังนั้นจึงควรเรียก“ธาตุ”จึงจะถูกต้อง)
ไปเดินชมรอบธาตุตาดทองกัน
ซ้ายบน – ตำแหน่งภาพของธาตุตาดทอง(จากทางทิศเหนือ)ทำให้เราเห็นตัวเจดีย์เอียงไปทางขวาเล็กน้อย
ขวาบน – ในภาษาอีสานเรียกเจดีย์ที่บรรจุสิ่งของศักดิ์สิทธิ์หรือประดิษฐานพระพุทธรูปว่า“อูบมุง” สำหรับอูบมุงที่ธาตุตาดทองจะอยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์ ภายในบรรจุพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ผู้คนต่างก็มากราบไหว้กัน
ซ้ายกลางบน – ด้านหน้าทางทิศเหนือ(หรือทางซ้ายของภาพ)มีใบเสมาสมัยทวารวดีบริเวณมุมซ้ายและขวา ขณะที่ทิศตะวันตก(หรือทางขวาของภาพ)จะมีทางเข้าธาตุตาดทองอยู่ ซึ่งด้านอูบมุงฝั่งตรงข้ามก็มีทางเข้าลักษณะเดียวกัน
ซ้ายกลางล่าง – บริเวณรอบธาตุตาดทองมีเจดีย์จำลองทรงบัวเหลี่ยมด้วย
ขวากลาง – คราวนี้เรามาดูรายละเอียดของเจดีย์บ้าง ธาตุตาดทอง(หรือธาตุก่องข้าวน้อย)มีโครงสร้างเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน มีฐาน 2 ชั้น ทำเป็นเอวขันตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมล้านช้าง มีเรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมและมีซุ้มจระนำอยู่สี่ทิศ ตัวธาตุสูงประมาณ 10 เมตร โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนฐาน กว้างด้านละ 2 เมตร ลักษณะเป็นบัวคว่ำบัวหงายลดหลั่นกันเป็นเอวขันปากพานและย่อมุมไม้สิบสองทั้งสี่มุม ด้านบนของฐานจะผายออกเพื่อรับเรือนธาตุ ส่วนฐานสูงประมาณ 3 เมตร
2. เรือนธาตุ เป็นทรงสี่เหลี่ยม ทำซุ้มจระนำเป็นลายกระหนกประดับ ที่เสาซุ้มจระนำมีดอกจันทร์เทศขนาดใหญ่ประดับเสาละ 1 ดอก ส่วนที่เป็นเรือนธาตุผายออกไปเพื่อรับกับส่วนยอดธาตุ
3. ยอดธาตุ จะแปลกกว่าสถาปัตยกรรมล้านช้างทั่วไป กล่าวคือมีปลียอดเล็กๆแซมอยู่ทั้งสี่ด้าน โดยเสริมยอดกลางให้โดดเด่นขึ้น ตัวยอดแซมไม่ได้ทำเป็นซุ้ม ทำแต่เพียงอิงฐานของยอดกลางไว้เท่านั้น ลักษณะยอดทำเป็นทรงหีบมีกลีบบัวอยู่ที่โคนหีบ สูงชะลูดขึ้นไปสู่คอขวด แล้วหยักเป็นเอวขันคั่นกับยอดธาตุเพื่อให้ตัวยอดดูโดดเด่น ส่วนยอดธาตุสูงประมาณ 4 เมตร (จากภาพ คนที่มาบนบานศาลกล่าว แล้วสัมฤทธิ์ดังใจหวัง จะนำรูปปั้นควายมาถวายบนฐานเจดีย์อย่างที่เห็น)
ซ้ายล่าง - โดยรอบธาตุตาดทองทำเป็นสวนหย่อมเล็กๆ บรรยากาศร่มรื่น
- ใครที่มาไหว้ธาตุตาดทอง ลองหันหลังไปมองโซนสินค้าดู สินค้าอุปโภคจะเห็นเด่นเลย
ขวาล่าง - ธาตุตาดทองมีโซนอาคารคอนกรีตแถวยาวแบ่งเป็นห้องๆจำหน่ายสินค้ามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของใช้และสินค้าที่ระลึก แต่ของบริโภคก็มีเช่นกัน
รายการสินค้า - สินค้าอุปโภคมีเสื้อที่ระลึก“ธาตุก่องข้าวน้อย” แคน โหวด พัด พานไม้ ขันโตกลาว กระติบ หวด มวย กระเตี้ยวมวย กลองรำมะนา ตะกร้า ประทัด คันธนู ชั้นวางไม้ ง่ามยิงนก งอบ ข้อง ไซ อีจู้ สุ่มปลา ลอบปลา สร้อยประคำ ไม้เท้า รถสามล้อไม้ ไม้เกาหลัง ช้อนส้อมไม้ ทัพพีไม้ กระดาน แว่นตา กบไม้ ป๋องแป๋ง พวงกุญแจ ป้ายมงคล ขลุ่ย โมบายกระดิ่ง ครกสาก น้ำเต้าดูดทรัพย์ จักจั่นของเล่น กระจาด กระด้ง หมูทอง หมวกเวียดนาม รูปปั้นควายถวายธาตุ อุปกรณ์ไม้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ผ้าพันคอ หมอน หมวกแฟชั่น รองเท้า พิณ ผ้าถุง ย่าม ต่างหู กระเป๋าสะพาย ของเล่นเด็ก(เช่น เครื่องครัว อุปกรณ์ทำขนม รถเครน หน้ากาก ไดโนเสาร์ ฯลฯ) กระบองจุดไฟ วัตถุมงคล รวมทั้งบริการถ่ายรูปคู่ธาตุตาดทองใส่กรอบ ส่วนของที่ระลึกมีสุ่มไก่ กล่องแมลง โปสการ์ด และของตั้งโต๊ะ ต่อไปเป็นสินค้าบริโภค เครื่องดื่มใส่แก้วมีกาแฟ เนสกาแฟ โอวัลติน นมเย็น ชาเย็น น้ำกระเจี๊ยบ ชาเขียว ชามะนาว แดงโซดา มะนาวโซดา แคนตาลูป เผือก นมสด ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำลำไย น้ำมะพร้าว น้ำส้ม น้ำเก๊กฮวย น้ำกีวี่ น้ำสตรอว์เบอร์รี สไปรท์ โค้ก เป๊ปซี่ (หรือปั่นกับปีโป้ เอ็มร้อยห้าสิบ และดัชมิลล์ก็ได้) เครื่องดื่มในตู้เย็นมีเย็นเย็น(รสเก๊กฮวยและสูตรจับเลี้ยง) สแปลช เอ็มร้อยห้าสิบ ลิโพ คาราบาว นมโฟร์โมสต์ บีทาเก้น เบอร์ดี้ กุมิกุมิ เนสกาแฟ นมไทยเดนมาร์ก โค้ก เป๊ปซี่ เอสเพลย์ รวมทั้งไอศกรีมพระนคร ของกินเล่นมีขนมเปี๊ยะ เวเฟอร์สติ๊ก ขนมนางเล็ด กล้วยอบแห้ง ขนมไข่ ขนมขาไก่ ลูกชุบ ข้าวเกรียบ กะหรี่ปั๊บ แคบหมู สลัดโรล ขนมผิง พายกรอบ มะยมดอง มะดันดอง มะม่วงดอง องุ่นดอง และทองม้วนกรอบ ของนึ่งทอดมีปอเปี๊ยะทอด ลูกชิ้น เต้าหู้ปลา เกี๊ยวทอด และไส้กรอก ขนมขบเคี้ยวมีถั่วทองการ์เดน โดโซะ(รสต่างๆคือ คอร์นชีส สาหร่ายญี่ปุ่น กลมกล่อม และซอสเซจจิ) ตะวัน(รสกุ้งกรอบและรสลาบแซ่บ) FullFish(รสต่างๆคือ บาร์บีคิว ไก่ย่างบาร์บีคิว ปูอัด และเผ็ดศรีราชา) ทาโร่(รสต่างๆคือ เข้มข้น บาร์บีคิว ซูเปอร์แซ่บ หมึก และสาหร่ายเกาหลี) เลย์(รสต่างๆเช่น ซาวครีมและหัวหอม หมึกย่างฮอตชิลลี่ซ่อนชิ้นเผ็ดซี้ด สโมกกี้บาร์บีคิว โนริสาหร่าย ฯลฯ) เมนทอส ดับเบิลมินต์ M&M โอริโอ ลอตเต้ ซูกัส บอนโอบอน ลูกอมซูเปอร์ป๊อป Cameloรสต่างๆ โคอะลามาร์ช มาม่าคัพ ยำยำคัพ และไวไวควิก หมวดยามีไทลินอล ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน ทิฟฟี่ ยาดมโป๊ยเซียน ส่วนสินค้าอื่นๆมีทิชชู่ แป้งเด็ก ไฟแช็ก และอาหารปลา
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
291 | 5228 | 297620 |