เกาะปันหยี

คำอธิบาย


(สามารถคลิกอ่านคำอธิบายของกินของใช้ได้ที่"คำอธิบาย")

เกาะปันหยีเป็นหมู่บ้านกลางน้ำที่มีมานานกว่า 200 ปีแล้ว ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างชื่อให้จังหวัดพังงา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวได้ตลอดปี

ส่วนความน่าสนใจบนเกาะปันหยีก็มีหลายอย่างให้ได้แจกแจงกัน เรามาเริ่มต้นขึ้นเรือจากท่าเทียบเรือบ้านเกาะปันหยีก่อน ไม่ว่าจะไปตรอกไหนซอกไหนของเกาะ ตลอดเส้นทางเป็นทางเดินปูนทั้งหมด โดยช่วงแรกต้องเดินผ่านลานหอยมุก จากนั้นจะเจอสามแยกในเขตบ้านเรือน ซึ่งไม่ว่าเลี้ยวซ้ายหรือขวานับจากนี้จะมีแต่ของกินของใช้ขนาบตัวเราทั้งสองข้าง แต่โดยรวมของใช้จะมากกว่าของกิน บริเวณทั้งหมด(ที่กล่าวมา)นี้อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะปันหยี ถ้าเลือกเลี้ยวซ้ายก่อน เส้นทางนี้จะพาไปสนามฟุตบอลลอยน้ำ(ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของเกาะ) ขณะที่เลี้ยวขวา เราสามารถไปทั้งมัสยิดและปลายเกาะทางทิศเหนือได้

ส่วนแผงสินค้าเป็นหน้าร้านจากบ้านหลังต่างๆของชาวเกาะปันหยีที่เปิดจำหน่ายข้าวของ แต่ก็มีโต๊ะวางสินค้าและคีออสริมทางด้วย เรามาเริ่มเลี้ยวซ้ายไปไฮไลต์ของเกาะปันหยีก่อน สำหรับเส้นทางนี้ ช่วงแรกเป็นทางตรงสายยาวไปสุดทางที่สามแยกร้านเครื่องดื่ม จากนั้นค่อยเลี้ยวขวา แล้วตรงต่อไป จนเจอโรงเรียนเกาะปันหยี ก็เลี้ยวขวาต่อ
(ระหว่างทางตามเรือนบ้านนับจากนี้ยังมีหน้าร้านจำหน่ายสินค้าอยู่เป็นระยะ เพียงแต่ไม่อุ่นหนาฝาคั่งเหมือนเส้นทางจากสามแยกลานหอยมุกจนเลี้ยวขวามาถึงหน้าโรงเรียนเกาะปันหยี) เดินตรงไปเล็กน้อย ก็เลี้ยวซ้ายอีกเพื่อเดินตรง จากนั้นก็เลี้ยวขวาอีกครั้ง เดินตรงต่อไป แล้วเลี้ยวซ้ายอีกที คราวนี้เดินตรงอย่างเดียว จนพบศาลาไม้นั่งพักติดทะเลอยู่ทางซ้าย ให้เลี้ยวขวาเพื่อเดินไปท่าเรือ ซึ่งเบื้องหน้าเราก็คือสนามฟุตบอลลอยน้ำนั่นเอง

สำหรับสินค้าโดดเด่นของเส้นทางนี้คือเสื้อผ้าชายหญิง เครื่องประดับจากไข่มุก และน้ำพริกกุ้งเสียบ ส่วนที่เหลือมีของปิ้งย่าง น้ำผลไม้คั้นและปั่น น้ำแข็งไส รองเท้า หมวก ไอศกรีม ชากาแฟ เครื่องดื่มแช่เย็น ของกินเล่น ก๋วยเตี๋ยว อาหารปักษ์ใต้ ขนมขบเคี้ยว ดนตรี ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิว อุปกรณ์มือถือ ของชำ เสื้อผ้าเด็ก เครื่องประดับต่างๆ เครื่องแต่งกายสตรี สินค้าที่ระลึก ชุดเดินชายทะเล ของแห้ง เครื่องดื่ม กระเป๋า อุปกรณ์ดำน้ำ ของใช้ส่วนตัว ผลไม้ดอง ขนมปัง อาหารตามสั่ง ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ของใช้ในบ้าน อาหารทะเลแห้ง ชุดละหมาด ขนมภาคใต้ ของยำ ของนึ่ง ของตกแต่งบ้าน ผลิตภัณฑ์ทำจากไม้ เสื้อที่ระลึก“เกาะปันหยี” ของเล่นเด็ก และขนมจีนน้ำยา

ต่อไปเรามาเลี้ยวขวาที่สามแยกหลังจากเดินผ่านลานหอยมุกบ้าง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางบังคับสายตรงอย่างเดียว แต่ก็มีไฮไลต์ฝั่งนี้ด้วย นั่นคือมัสยิดและสุสานบนเกาะปันหยี ซึ่งมีป้ายบอกให้เลี้ยวขวาอยู่ระหว่างทาง ถ้าลองเลี้ยวขวาไปมัสยิด เพียงเดินตรงไป 50 เมตร ก็จะเจอมัสยิดแล้ว แต่ถ้าไม่เลี้ยวขวาไปมัสยิด เราสามารถเดินดูสินค้าต่อไปจนถึงปลายเกาะทางทิศเหนือได้ (ซึ่งช่วงครึ่งทางแรกมีแผงข้าวของอัดแน่นตลอดทาง แต่พอผ่านครึ่งทางไป แผงสินค้าจะเริ่มสลับกับบ้านเรือน(ที่ไม่เปิดหน้าร้าน)) สำหรับข้าวของที่โดดเด่นตามเส้นทางนี้คือเสื้อผ้าชายหญิงและเครื่องประดับจากไข่มุก (แต่ไม่มีน้ำพริกกุ้งเสียบ) ที่เหลือก็มีเครื่องแต่งกายสตรี ชุดเดินชายทะเล เสื้อผ้าเด็ก ขนมขบเคี้ยว ขนมปัง กระเป๋า อาหารทะเลแห้ง ของแห้ง ของชำ เครื่องดื่มแช่เย็น ขนมจีนน้ำยา น้ำผลไม้คั้นและปั่น น้ำแข็งไส ของหวาน อาหารตามสั่ง หมวก สินค้าที่ระลึก ของใช้ในบ้าน ผลิตภัณฑ์เด็กอ่อน เสื้อที่ระลึก"เกาะปันหยี" ของปิ้งย่าง ของเล่นเด็ก ของตกแต่ง ชากาแฟ และของใช้ส่วนตัว

ทั้งนี้นอกเหนือจากของกินของใช้ตามเส้นทางปูนแล้ว ยังมีร้านอาหารฝั่งตะวันออกเลียบทางเดินเลี้ยวซ้ายและขวาด้วย ซึ่งร้านเหล่านี้มีท่าเทียบเรือส่วนตัวของแต่ละร้านพร้อมกระชังเลี้ยงสัตว์ทะเล โดยมีทั้งกรุ๊ปทัวร์และนักท่องเที่ยวทั่วไปที่มากินกัน

อนึ่ง ใครที่อยากเดินจากสนามฟุตบอลลอยน้ำไปมัสยิดหรือจากมัสยิดมาสนามฟุตบอลลอยน้ำตามเส้นทางฝั่งตะวันตก ก็สามารถเดินบนทางปูนไปตามบ้านเรือนโดยผ่านศูนย์จริยธรรมอิสลามเพื่อเชื่อมระหว่างสองสถานที่ได้เช่นกัน


เกาะปันหยีมีเอกลักษณ์เกี่ยวกับหมู่บ้านกลางน้ำมานาน และยิ่งตอกย้ำเข้าไปอีกเมื่อมีโฆษณาชิ้นหนึ่งได้นำเรื่องสนามฟุตบอลลอยน้ำมาบอกเล่า ปัจจุบันชื่อเสียงของเกาะปันหยียังคงไม่เสื่อมคลายไปไหน ส่วนทัวร์ต่างชาติและนักท่องเที่ยวชาวไทยก็มาทักทายกันตลอด จะเรียกว่ามีเสน่ห์ไปแล้วก็ได้
- ตอนนี้ทีมงานก็เป็นหนึ่งในนักท่องเที่ยวกับเขาแล้ว เดี๋ยวเราเดินผ่านลานหอยมุกที่อยู่ฝั่งตะวันออกของเกาะ เมื่อถึงสามแยก ก็ขอเลี้ยวซ้ายไปดูของกินของใช้ตามเส้นทางไฮไลต์ก่อน
บน – บรรยากาศช่องทางเดินนี้คึกคักทีเดียวเนื่องจากเป็นทางไปสนามฟุตบอลลอยน้ำ เลยทำให้ข้าวของล้นหลามตลอดทาง แถมร้านรวงของบ้านแต่ละหลังก็จัดหน้าร้านเต็มที่และทางเดินก็ทำเป็นแผ่นไม้ด้วย (จากภาพ แผงทางซ้ายใกล้ภาพเป็นเสื้อที่ระลึก“เกาะปันหยี” ส่วนฝั่งขวาใกล้ภาพเป็นแผงแม็กเน็ตที่ระลึก ตามด้วยแผงแก้วเป่าที่อยู่ถัดออกไป) สำหรับใครที่อยากไปสนามฟุตบอลลอยน้ำ ให้เดินตรงไปเรื่อยๆ (เนื่องจากภาพนี้เป็นการมองย้อนกลับไปยังสามแยก ดังนั้นต้องเดินขึ้นมาทางตัวกล้อง) แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกร้านเครื่องดื่ม จากนั้นเลี้ยวขวาที่หน้าโรงเรียนเกาะปันหยี แล้วเดินตามเส้นทางที่อธิบายเกริ่นนำไว้ ก็จะถึงสนามฟุตบอลลอยน้ำในที่สุด โดยสินค้าที่ครองแชมป์เส้นทางนี้ได้แก่ เสื้อผ้าชายหญิงสารพัดแบบ
ซ้ายบน – ร้านนี้มีทั้งผ้าอินโดแบบลายสองหน้าและผ้าไทยแบบลายหน้าเดียว ซึ่งนำไปตัดเป็นเสื้อผ้าก็ได้ ส่วนโสร่งของบุรุษและสตรีก็มีเช่นกัน โดยมีทั้งลายปาเต๊ะและลายแนวไทยๆ รวมถึงผ้าปาเต๊ะ(เอนกประสงค์)เพื่อคลุมไหล่ พันคอ หรือปูริมหาด สำหรับเสื้อสตรีก็เป็นแบบเดินหาดสบายๆ จนตบท้ายที่กางเกงขาสั้นที่แขวนอยู่ด้านล่าง
ขวาบน – เจ้านี้มีเสื้อที่ระลึก“เกาะปันหยี”พร้อมลายพื้นสารพัดแบบ ส่วนด้านล่างเป็นผ้าคลุมไหล่และพันคอ
ขวาล่าง – ชุดเดินชายหาดดีไซน์เก๋ๆที่นำเทคนิคผูกผ้าชายกรุยมาพันรอบคอ ส่วนสาวคนไหนชอบลายอะไร ชำเลืองดูผืนผ้าด้านล่างได้เลย ขณะที่ด้านบนคือเสื้อกล้าม
ซ้ายล่าง – ที่ริมผนังหน้าบ้านหลังนี้กำลังแขวนเสื้อยืดผ้าบางทั้งคอวีและคอกลมลายต่างๆไว้ ส่วนด้านล่างเป็นชุดอินโดกระโปรงแขนกุด




เดินกันต่อ ฝั่งซ้ายมีของให้ดูเพียบ
ซ้ายบน – ไข่มุกธรรมชาติยังคงมีมนต์เสมอ ตอนนี้กลายมาเป็นสร้อยคอ กำไล ต่างหู จี้ และแหวนแล้ว หรือถ้านักท่องเที่ยวคนไหนชอบมุกเปลือกหอย ก็มีสีให้เลือกเช่นกัน ทั้งนี้ยังมีสร้อยหินสีด้วย ซึ่งเครื่องประดับเหล่านี้มีตัวเลือกให้เห็นตลอดทาง ส่วนของตกแต่งอีกอย่างก็คือ เปลือกหอยสวยงามและโมบายหอยเชลล์(ที่ส่งเสียงกระทบกรุ๊งกริ๊งไปมา)
ขวาบน – หน้าบ้านหลังนี้เปิดจำหน่ายเป้ หมวกแก๊บ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าใส่ของสตรี รองเท้าผ้าใบ ถุงเท้าผ้า(เล่นน้ำทะเล) รองเท้าแตะแบบหนีบ และรองเท้าแตะปลา
ซ้ายกลาง – ร้านสินค้าที่ระลึกมีหลายเจ้าเลย เหมือนแผงนี้ที่มีกะลาเปลือกหอยเพนต์สี ดินสอ พวงกุญแจ แม็กเน็ต เข็มกลัด แหวน และเปลือกหอย(ที่ประกอบร่างเป็นตัวการ์ตูนหรือสัตว์ต่างๆ)
- จบจากตัวอย่างของใช้ เราไปดูของกินกันบ้าง เริ่มด้วยสินค้าขึ้นชื่อบนเกาะก่อน นั่นคือน้ำพริกกุ้งเสียบ โดยประเภทจะคล้ายกัน เพียงแต่สูตรรสชาติของใครก็ของคนนั้น เลือกชิมดูได้ แม่ค้ายินดีต้อนรับ ตอนนี้ขอพาไปชมตัวอย่างสักสองแผง
ขวากลาง – ป้าแผงนี้มีน้ำพริกกุ้งเสียบ(ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์) น้ำพริกกุ้งเสียบสามรส(ที่เป็นกุ้งล้วน) และน้ำพริกปูม้า ขณะที่แถวบนเป็นกะปิกุ้งเคย
ซ้ายล่าง – ส่วนน้าร้านนี้มีน้ำพริกกุ้งเสียบ(ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์) แกงไตปลาแห้ง ปลาทอดกรอบสมุนไพร น้ำพริกกุ้งเสียบ(ที่เป็นกุ้งล้วน) และน้ำพริกปูม้า
ขวาล่าง – ร้านข้าวราดแกงและอาหารตามสั่งก็มีให้อิ่มท้อง เฉพาะกับข้าวเท่านั้นที่อาจมีหน้าตาต่างไปในแต่ละวันเพื่อความไม่จำเจของร้าน เช่น ปลาขมิ้นทอดกรอบ แกงส้มปลาแตงเปรี้ยว ผัดเผ็ดปลาดุกทะเล แกงเขียวหวาน ผัดสะตอ ไก่ต้มกะทิ ฯลฯ นอกจากนี้ หน้าร้านยังมีสินค้าวางขายด้วยคือ มะปราง มังคุด ทองม้วนกรอบ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป(ยี่ห้อซือดะและยี่ห้อจายา) ส่วนผลไม้คลุกพริกเกลือทรงเครื่องมีมะขาม ฝรั่ง และมะปราง รวมทั้งไอศกรีมครีโมในตู้แช่



ยังอยู่ที่ทางเดินฝั่งซ้ายเหมือนเดิม ไม่ได้รีบอะไร
ซ้ายบน – เมนูเครื่องดื่มติดตามเราทุกฝีก้าว น้ำผลไม้ปั่นและคั้นบนโต๊ะนี้ก็มีแคนตาลูป มะนาว มะละกอ แอปเปิล สับปะรด แตงโม มะม่วงสุก มะปราง ส้ม องุ่นแดง แก้วมังกร กล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี ฝรั่ง เสาวรส และมะพร้าว เครื่องดื่มหมวดอื่นยังมีเฉาก๊วยโบราณ เฉาก๊วยนมสด แดงโซดา เขียวโซดา บลูฮาวายโซดา และมะพร้าวปั่นนมสด รวมทั้งน้ำผลไม้ติ่งฟง(รสชาติต่างๆ เช่น เสาวรส สตรวอ์เบอร์รี กีวี่ บลูเบอร์รี ฯลฯ) ส่วนน้ำแข็งไสราดน้ำแดงมีตัวเลือกคือ เฉาก๊วย ลูกชิด ขนมปัง เม็ดแมงลัก วุ้นมะพร้าว และฟรุตสลัดสามสี
ขวาบน – ส่วนใครโหยหาของกินเล่น ล็อกนี้มีขนมถังแตกไส้มะพร้าว ถั่วลิสงบดน้ำตาล และสังขยา ขณะที่โดนัททอดมีไส้ไก่ สังขยา และปูอัด สำหรับขนมโตเกียวมีไส้กรอกกับสังขยา และสุดท้ายก็คือขนมลูกโดนกับเครป
ซ้ายกลาง – ขอทิ้งทวนด้วยร้านสะดวกซื้อริมทางที่มีมาให้ชาวเกาะปันหยีและนักท่องเที่ยวได้จับจ่าย เท่าที่เห็นจากหน้าร้าน หมวดขนมขบเคี้ยวมีเลย์ โดโซะ เทสโต้ CrispyCrisp ป๊อกกี้ ไดโนพาร์ก M&M ยูโร่เค้ก Hersey's ไมโลแท่ง พริงเกิลส์ เมนทอส ฮอลล์ Loacker
โปเต้ บิสชิน ขนมขาไก่ ซูกัส เกาลัดก่อหยวน โกโก้ครันช์ ริกลี่ย์ดับเบิลมินต์ จูปาจุ๊ปส์ ขนมปัง(สอดไส้ใบเตยและสอดไส้ช็อกโกแลต) ขนมผิง แซนด์วิชหมูหยอง ขนมปังลูกเกด ขนมปังปอนด์ และซันไบรท์ ส่วนในตู้เย็นมีนมตราหมี ดัชมิลล์โฟร์อินวัน โค้ก ชเวปส์ C-Vitt แมนซั่ม เพียวริคุ สไปรท์ แบรนด์ วีต้า กระทิงแดง เย็นเย็น ดัชชี่ เอ็มร้อยห้าสิบ โออิชิ อิชิตัน แฟนต้า เมจิกฟาร์ม มินิทเมดพัลพี แลคตาซอย และลิปตันไอซ์ที รวมทั้งไอศกรีมวอลล์ สินค้าบริโภคอื่นๆมีนมผงเด็ก น้ำมันพืช น้ำปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊วขาว ซอสมะเขือเทศ และปลากระป๋อง ของใช้อื่นๆยังมีหูฟังมือถือ สบู่เด็ก ผ้าอ้อมเด็ก ขวดนม โรลออน ทิชชู่ น้ำยาย้อมผม แชมพู ครีมนวดผม ร่ม สเปรย์จำกัดแมลง หลอดไฟ ทิฟฟี่ ยาแก้ไอ ยาหม่อง เทนโซพลาส น้ำยาล้างจาน ลูกยางแดง น้ำเกลือ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ครีมกันแดด ดินสอเขียนคิ้ว ครีมผิวขาว ลิปสติก ใบมีดโกน และถ่านไฟฉาย รวมทั้งของเล่นตอกแผง
- เส้นทางเลี้ยวซ้ายจากสามแยกพอได้น้ำได้เนื้อแล้ว เดี๋ยวเราลองเลี้ยวขวาบ้าง
ขวาล่าง – เสื้อที่ระลึก“เกาะปันหยี”เรียงหน้ากันแบบท้าสายตามาก ส่วนลวดลายก็มากันหลายเฉดหลายสกรีน เจ้านี้ยังมีเสื้อที่ระลึก“เกาะปันหยี”แบบแฮนด์เมดด้วยวิธี“ผ้าบาติก”อีก แต่ราคาก็สูงขึ้น ขณะที่ด้านล่างเป็นกางเกงขาสั้น
ซ้ายล่าง – เสื้อที่ระลึก“เกาะปันหยี” โสร่ง และผ้าปาเต๊ะฟากนี้โดดเด่นอยู่หลายเจ้า เลยขอเก็บภาพมาฝากต่อ
ล่าง – ขอกลับมาบรรยายหน้าร้านตามบ้านฟากนี้ก่อน แผงโดยรวมจะให้อารมณ์ชาวบ้านมากขึ้นและตกแต่งสีสันน้อยกว่าฝั่งเลี้ยวซ้าย ส่วนสินค้ามีเสื้อผ้าชายหญิงและเครื่องประดับจากไข่มุกเป็นตัวยืนพื้น ขณะที่ของกินของใช้ยังคงเหมือนเดิม (เส้นทางนี้เป็นทางสายตรงอย่างเดียวจนสุดทางที่ปลายเกาะด้านทิศเหนือ แต่ถ้าใครอยากไปมัสยิดด้วย หลังจากเลี้ยวขวาที่สามแยกมา เมื่อเจอป้ายให้เลี้ยวซ้าย เดินไปอีก 50 เมตร ก็เจอมัสยิดแล้ว)



ได้เวลาสำรวจเส้นทางฝั่งขวาต่อ
ซ้ายบน – ซุ้มนี้มีเสื้ออินโด ผ้าพันคอและคลุมไหล่ รวมถึงของที่ระลึกบนหน้าโต๊ะอันได้แก่ พัด ดินสอ พวงกุญแจแบบต่างๆ และกระเป๋าใบเล็ก ส่วนด้านล่างเป็นกางเกงขาสั้น
ขวาบน – ผลิตภัณฑ์จากไข่มุกยังมีให้เห็นตลอดทาง อย่างแผงนี้ก็มีไม่ต่างกัน นั่นคือ สร้อยคอ กำไล ต่างหู จี้ และแหวน
ขวากลางบน – ร้านสะดวกซื้อก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ข้าวของเท่าที่เห็นจากหน้าร้านมีดังนี้ ขนมขบเคี้ยวมี KitKat โอริโอ ตูมตาม รวยเพื่อน แจ๊กส์ ทวิสโก้ โตโร่ เอสบี สแน็กแจ๊ก ปาร์ตี้ ตะวัน ไก่ย่าง คอปป ซีมอน ปูไทย ปาปริก้า ไดโนพาร์ก มโนราห์ คอนเน่ ฟันไบท์ เจอร์รี่ ป๊อกกี้ เถ้าแก่น้อย พีจอย เลย์ ทาโร่ เบงเบง จูปาจุ๊ปส์ ฮอลล์ ซูกัส
Tizzi เกาลัดก่อหยวน ไวไว โดโซะ เลย์ คนอร์คัพโจ๊ก คลอเร็ท ทิวลี่ Lausanne กระเจี๊ยบแก้ว CreamCracker โดนัต ขนมปลา ทองม้วนกรอบ ทาโร่ เบนโตะ ถั่วปากอ้า ป๊อกกี้ ขนมปังสอดไส้ช็อกโกแลต และขนมผิง เครื่องดื่มในตู้เย็นมีกระทิงแดง ลิโพ สปอนเซอร์ ฉลาม คาราบาว เอ็มร้อยห้าสิบ โค้ก เป๊ปซี่ แฟนต้า สไปรท์ แมนซั่ม บีทาเก้น ไวตามิลค์ C-Vitt โออิชิ อิชิตัน ดัชมิลล์โฟร์อินวัน แอนลีน ดีน่า นมตราหมี โอวัลติน มินิทเมดพัลพี ชเวปส์ ดีโด้ และแลคตาซอย ส่วนของแห้งของชำมีน้ำปลา น้ำมันพืช ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู ซอสพริก และซอสมะเขือเทศ สินค้าอุปโภคอื่นๆมีครีมบำรุงผิว แชมพู ครีมนวดผม ครีมลดฝ้า น้ำยาบ้วนปาก โรลออน สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าอนามัย โฟมล้างหน้า โลชั่นทาผิว ทิชชู่ ผ้าอ้อมเด็ก อาหารแมว กระบอกฉีดน้ำ วาสลีน น้ำยาล้างจาน กระบอกฉีดน้ำ และผงซักฟอก รวมทั้งของเล่นตอกแผง
ซ้ายกลาง – ในบ้านหลังนี้เปิดเป็นที่นั่งกินขนมจีนแกงไตปลา โดยเรียงผักเหนาะได้ดาวล้านดวงจริงๆ ทั้งหมดบนโต๊ะมีขมิ้นขาว ไช้โป้ว แตงกวาสด สับปะรด ถั่วฝักยาว ถั่วงอกสด ถั่วงอกต้ม ขนุนอ่อนต้มหั่นชิ้น แตงกวาดอง ไข่ต้ม ลูกฉิ่ง แกงไตปลา มะเขือไข่เต่าสีม่วง ลูกปลาทูแห้ง มะเขือพวง และยอดหมุย
- หลังจากจบเส้นทางทั้งสองฟากไปแล้ว ทางทิศตะวันออกของเกาะยังมีร้านอาหารสำหรับกรุ๊ปทัวร์ต่างชาติและนักท่องเที่ยวทั่วไปด้วย นั่นคือ ร้านอาหารริมทะเลบนเกาะปันหยีที่มีโป๊ะเรือเป็นของตนเองเพื่อรับนักท่องเที่ยวเข้าร้าน โดยบริเวณโป๊ะเรือจะมีกระชังเลี้ยงสัตว์ทะเล เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง กุ้งมังกร หอยนางรม ฯลฯ ไว้คอยบริการความสดให้ผู้มาเยือน สำหรับร้านดังกล่าว ทีมงานขอสุ่มมาสองบรรยากาศจากหลายๆร้านแล้วกัน
ขวากลางล่าง – ร้านนี้มีตัวอย่างอาหารดังนี้ สลัดกุ้งกรอบ ลาบปลาทูน่า ยำมะม่วงไข่เค็ม ยำซีฟู้ด ส้มตำกุ้งสด กุ้งลายเสืออบวุ้นเส้น ปลากะพงแป๊ะซะ กุ้งแชบ๊วยเผา กุ้งมังกรผัดพริกไทยดำ ปูม้าผัดผงกะหรี่ ปูดำนึ่ง บร็อกโคลีผัดกุ้งสด ห่อหมกทะเล แกงมัสมั่นเนื้อ เนื้อผัดเผ็ด ข้าวผัดเปรี้ยวหวาน ผัดไทยกุ้งสดห่อไข่ และปลาเก๋าทอดน้ำปลา
ซ้ายล่าง – ขณะที่ร้านนี้มีตัวอย่างอาหารดังนี้ สับปะรดผัดเห็ดหูหนู ไก่ต้มซีเซ็กฉ่าย ไข่ยัดไส้กุ้ง กั้งนึ่งขิง หอยแครงลวก หอยผัดกะเพรา ผัดผักเหมียงกุ้งสด ผัดคะน้าน้ำมันหอย หอยนางรมทอดกระเทียม ข้าวผัดปู ต้มข่าไก่ ปลาทอดลุยสวน กุ้งผัดมะขามเปียก ทอดมันปลา กุ้งแช่น้ำปลา หมึกผัดน้ำพริกเผา คั่วกลิ้ง ปลาทอดฉู่ฉี่ และปลานึ่งมะนาว
- เมื่อเห็นสินค้าจนครบองค์ประชุมแล้ว คราวนี้ยังมีสี่สถานที่บนเกาะปันหยีที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดและต้องทำการเช็กอินด่วน
ขวาล่าง – เริ่มต้นด้วยสิ่งที่สร้างกระแสไปทั่วโลกก่อน นั่นคือ สนามฟุตบอลลอยน้ำ ตอนนี้แขกไปใครมา ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ ทุกคนต้องมาถ่ายรูปหมู่หรือเซลฟี่บนสนามฟุตบอลแห่งนี้ (จากภาพ กรุ๊ปทัวร์หลากสัญชาติกลุ่มนี้กำลังยกมือยกไม้บ้าง ยิ้มแย้มแจ่มใสบ้าง แล้วพร้อมใจกันหันหน้าไปที่กล้องของไกด์นำเที่ยว)


 


ความสนุกช่วงท้ายกำลังใกล้เข้ามาแล้ว
บน – และนี่คือ สนามฟุตบอลลอยน้ำบนเกาะปันหยีเวอร์ชั่นปัจจุบันที่เด็กๆมาเล่นฟุตบอลแบบเต็มๆ โดยความเป็นมาก็เริ่มจากในอดีตมีเด็กกลุ่มหนึ่งคิดสร้างทีมฟุตบอลขึ้นมาและหวังไปไกลถึงขนาดพาทีมชาติไทยไปบอลโลก แต่มีข้อจำกัดเรื่องภูมิศาสตร์เพราะถิ่นที่อยู่รายล้อมด้วยทะเล บ้านเรือนปลูกสร้างอยู่บนน้ำ ไม่มีพื้นดินให้สร้างสนามฟุตบอลเลย กลุ่มเด็กจึงหาเศษไม้มาต่อกับแพปลา ทำเป็นสนามฟุตบอลกลางทะเลจนสำเร็จ เมื่อมีการแข่งขันฟุตบอล ก็ส่งทีมของตนเข้าแข่งขัน จนสามารถคว้าแชมป์ระดับภูมิภาคได้ถึง 7 สมัยด้วยกัน และที่สำคัญที่สุด คงไม่มีวิวของสนามฟุตบอลที่ไหนในเมืองไทยงดงามไปกว่านี้แล้วจริงๆ
ซ้ายบน – ภาพนี้คือสนามฟุตบอลลอยน้ำอันเก่าที่เริ่มชำรุดและถูกปลดระวางไป ปัจจุบันแอบมาหลบมุมลอยน้ำอยู่ข้างโรงเรียนเกาะปันหยีแทน
ขวาบน – ลานหอยมุกที่นักท่องเที่ยวที่ขึ้นเรือจากท่าเทียบเรือบ้านเกาะปันหยีต้องเดินผ่าน แล้วถ่ายรูปคู่เป็นที่ระลึกก่อนใคร (สินค้าแพร่หลายขนาดนี้ ถ้าไม่ทำแลนด์มาร์กให้ ก็คงเอะใจอยู่)
ซ้ายล่าง – ภาพนี้คือมัสยิดบนเกาะปันหยี เกือบทุกคนที่นี่เป็นชาวมุสลิม จึงไม่แปลกใจที่สถานที่แห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเกาะปันหยี
ขวาล่าง – ก่อนจะนั่งเรืออำลาเกาะปันหยี ชาวเกาะปันหยีอยากบอกว่า ไม่ว่าตอนที่นั่งเรือออกจากท่าเรือศาลาด่านมา แล้วเรือกำลังเข้าเขตเกาะปันหยี หรือเป็นตอนที่เรือเริ่มแล่นออกจากเกาะปันหยีไปทางท่าเรือศาลาด่านก็ตาม ทุกคนต้องเห็นเขาหินปูนลูกหนึ่งที่สูงโดดเด่นเพียงลูกเดียวของเกาะปันหยี แต่จุดสังเกตก็คือ ให้ลองมองช่วงกลางของภูเขา จะมีร่องรอยถาวรของหินปูนที่คล้ายพระนามของพระอัลเลาะห์(ศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม)ซึ่งอยู่คู่กับชาวเกาะปันหยีมานับร้อยปีแล้ว (อนึ่ง เราไม่สามารถอยู่บนเกาะปันหยี แล้วเห็นรอยหินปูนจากบนเกาะได้ เพราะตัวเขาบังอยู่)

TODAY THIS MONTH TOTAL
351 856 301317
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top