(สามารถคลิกอ่านคำอธิบายของกินของใช้ได้ที่"คำอธิบาย")
ถนนคนเดินเขมราฐ(หรือถนนคนเดินเขมราษฏร์ธานี 200 ปี)จัดขึ้นทุกเย็นวันเสาร์ตั้งแต่ห้าโมงเย็น ถ้าเรามาจากถนนใหญ่ แล้ววิ่งเข้าเมืองไปบนถนนอรุณประเสริฐ(ที่ผ่านปากทางเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารเขมราฐทางขวาและปากทางเข้าตลาดสดเขมราฐทางซ้าย) เมื่อตรงต่อมาบนถนนอรุณประเสริฐ เราจะเจอสามแยก(ที่มีถนนคีรีรัตน์มาบรรจบ) และถ้าตรงเข้าไปบนถนนอรุณประเสริฐจากสามแยกนี้ต่อ จุดนี้จะเริ่มมีแผงกั้นปิดทางเป็นถนนคนเดินเขมราฐแล้ว ถัดเข้าไปอีกก็เป็นสี่แยกถนนคนเดิน ซึ่งสี่แยกนี้มีถนนวิศิษฐ์ศรีเข้ามาตัดเป็นถนนแนวขวาง
สำหรับถนนคนเดินเขมราฐทั้งเส้นทางจะอยู่บนถนนวิศิษฐ์ศรีทั้งหมด ดังนั้นเราสามารถเลี้ยวซ้ายหรือขวาจากสี่แยกนี้เพื่อเดินเที่ยวถนนคนเดินเขมราฐได้เลย ถ้าเลี้ยวขวาไป ถนนคนเดินบนถนนวิศิษฐ์ศรีฝั่งนี้จะยาวกว่าเส้นทางที่เลี้ยวซ้ายเล็กน้อย นอกจากนี้หน้ากว้างของถนนจะกว้างกว่า(ถนนที่เลี้ยวไปทางซ้าย)ด้วย ตลอดทางของถนนจะเห็นเอกลักษณ์ของบ้านไม้ทั้งสองข้าง แต่ก็มีบ้านคอนกรีตปะปนเช่นกัน ถนนคนเดิน(ที่เลี้ยวขวามานี้)จะสิ้นสุดที่หน้าสำนักงานปฐมศึกษาอำเภอเขมราฐ(บริเวณสามแยกที่มีถนนประชาเกษมตรงเข้ามาบรรจบ) ซึ่งเราสามารถมาถนนคนเดินเขมราฐจากทางนี้ได้
ขณะที่เลี้ยวซ้ายจากสี่แยกถนนคนเดินไปอีกทาง ถนนคนเดินบนถนนวิศิษฐ์ศรีฝั่งนี้จะสิ้นสุดใกล้กับซอยเล็กๆ(ไม่มีชื่อซอย) ซึ่งถัดต่อไปไม่ไกลก็เป็นซอยวิศิษฐ์ศรี 9 และเราก็มาเที่ยวถนนคนเดินจากด้านนี้ได้
แต่บริเวณสี่แยกถนนคนเดินบนถนนอรุณประเสริฐ ถ้าเดินตรงขึ้นไปต่อแทนการเลี้ยวซ้ายและขวา ถนนคนเดินยังมีต่อเนื่องจนสิ้นสุดที่สี่แยกถัดไป(ที่มีถนนกงพะเนียงมาตัดเป็นถนนแนวขวาง) เราสามารถเข้ามาเที่ยวถนนคนเดินจากจุดนี้ได้เช่นกัน
เรามาเริ่มต้นเข้าถนนคนเดินเขมราฐจากสี่แยกถนนคนเดินโดยอยู่บนถนนอรุณประเสริฐทั้งช่วงใกล้ถึงสี่แยกถนนคนเดินและช่วงข้ามสี่แยกไปบนถนนอรุณประเสริฐต่อจนจบที่สี่แยกถัดไป(ที่ตัดกับถนนกงพะเนียง)ก่อน โดยฝั่งที่ข้ามสี่แยกถนนคนเดินไปแล้ว มีสินค้ามากกว่าฝั่งก่อนจะข้ามสี่แยกไป ซึ่งแถบนี้เน้นแผงลอยริมทางเป็นหลัก ประเภทแผงลอยมีโต๊ะพับ(เหล็กกับสแตนเลส) รถเข็น ผ้าบลูชีท ขาโต๊ะแผงลอย ราวแขวน และรถโมบาย สำหรับข้าวของที่ขายมีทั้งของกินและของใช้อันได้แก่ เสื้อผ้าชายหญิง ของปิ้งย่าง เปิดหมวก อาหารอีสาน เสื้อผ้าพื้นเมือง ของกินเล่น รองเท้า ชุดชั้นใน ของทอด อาหารทั่วไป กิจกรรม ไอศกรีม และเครื่องประดับสตรี ทั้งนี้ยังมีมุมถ่ายรูปคู่ที่ระลึกอีกหนึ่งจุดบริเวณสี่แยกด้วย
คราวนี้จากสี่แยกถนนคนเดิน เรามาเลี้ยวขวาเข้าถนนหน้ากว้างต่อทันที ตลอดเส้นทางสายยาวนี้มีแผงลอยตั้งอยู่ทั้งซ้ายและขวาแน่นขนัดจนถึงปลายทาง ขณะเดียวกัน บ้านหลายหลังทั้งสองฟากก็เปิดหน้าร้านกันอย่างคึกคัก สำหรับแผงลอยส่วนใหญ่เป็นโต๊ะพับ(เหล็กกับสแตนเลส) ที่เหลือมีราวแขวน ขาโต๊ะแผงลอย รถเข็น รถโมบาย ผ้าบลูชีท ผ้าเต็นท์ กะละมัง ลังพลาสติก กระด้ง เสื่อ ถังน้ำ เต็นท์กาง ชั้นวาง ตะแกรง และโต๊ะไม้ ขณะที่ของกินของใช้มากมายฟากนี้มีดังนี้ ของกินเล่น รองเท้า เสื้อผ้าชายหญิง ของปิ้งย่าง ขนมไทย อาหารญี่ปุ่น อาหารทั่วไป ผลไม้ ของนึ่งต้ม ผักพื้นบ้าน ผักสด ของทอด อาหารอีสาน น้ำผลไม้ปั่นและคั้น ของแห้ง ของชำ ชากาแฟ นาฬิกา เครื่องประดับสตรี กระเป๋า ไอศกรีม เสื้อผ้าพื้นเมือง สัตว์ตามธรรมชาติ เสื้อที่ระลึก“ถนนคนเดินเขมราฐ” งานบริการ เสื้อผ้ามือสอง ของเล่นเด็ก ของหมักดอง ของยำ เบเกอรี่ ของกินเล่นท้องถิ่น อุปกรณ์มือถือ เครื่องดื่ม หมวก ดนตรีพื้นบ้าน อาหารทะเลแห้ง สินค้าจากศิลปิน เครื่องแต่งกาย ของกินภาคใต้ เสื้อผ้าเด็ก อาหารญี่ปุ่น เครื่องสำอาง พระเครื่อง หนังสือ เสื้อผ้าผู้สูงวัย สินค้าโอทอป อาหารตามสั่ง เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียน และเปิดหมวก ทั้งนี้ถนนฟากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ของเกล่าและมุมถ่ายรูปคู่ที่ระลึกตลอดทางด้วย
จากนั้นเรากลับมาที่สี่แยกถนนคนเดินอีกครั้ง แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีกฟากของถนนวิศิษฐ์ศรีกัน ตลอดเส้นทางฝั่งนี้ก็มีสินค้าแน่นขนัดทั้งสองฟาก สำหรับประเภทแผงลอยก็คล้ายกับถนนวิศิษฐ์ศรีฟากไฮไลต์ก่อนหน้า เพียงแต่เต็นท์กางและเต็นท์พับจะมีบทบาทมากขึ้น ส่วนบ้านเปิดหน้าร้านจะมีน้อย และสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้านำมาจำหน่ายเริ่มตั้งแต่เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าผู้สูงวัย เสื้อผ้าพื้นเมือง ของกินยามเช้า ของปิ้งย่าง อาหารอีสาน ของทอด ขนมไทย เสื้อผ้าชายหญิง กิ๊ฟช็อป ของหวาน น้ำผลไม้ปั่นและคั้น เครื่องดื่ม เปิดหมวก ดนตรีพื้นบ้าน ของใช้ในบ้าน ของเล่นเด็ก เสื้อผ้าเด็ก พืชไร่ พระเครื่อง ของยำ ของนึ่ง ผลไม้ รองเท้า กระเป๋า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์มือถือ อาหารญี่ปุ่น ของกินเล่น สายตา นาฬิกา งานบริการ ของตกแต่ง เครื่องนอน และของใช้ส่วนตัว
ทันทีที่มาถึงอำเภอเขมราฐ ก็มีป้ายต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยสโลแกนที่ว่า“เขมราฐ ดินแดนแห่งความเกษมสุข” ซึ่งคำว่า“เขมราฐ”หรือ“เขมราษฎร์ธานี”ก็มีความหมายเช่นนั้นจริงๆ แต่ในฐานะอาคันตุกะ ความหมายนี้จะจริงเพียงไร หลังจากเดินบนถนนคนเดินเสร็จ ทีมงานจะมาลงคะแนนให้ฟัง
- ตอนนี้มาเริ่มต้นบนถนนอรุณประเสริฐทั้งก่อนถึงสี่แยกถนนคนเดินและเลยสี่แยกนี้ขึ้นไปจนถึงสี่แยก(ที่ตัดกับถนนกงพะเนียง)ก่อน
ซ้ายบน – นำภาพบรรยากาศช่วงสี่แยกถนนคนเดินไปถึงสี่แยกที่ตัดกับถนนกงพะเนียงมาฝาก ทั้งคนเดินและคนขายต่างก็พร้อมเพรียงแล้ว (จากภาพ ทางซ้ายมุมไกลจะเห็นวัดโพธิ์ซึ่งอยู่ตรงสี่แยกที่ตัดกับถนนกงพะเนียงพอดี)
ขวาบน – ร้านนี้ตั้งโต๊ะขายแหนมเนือง เมี่ยงสด และเมี่ยงคำ (ใครสนใจห่อไหน เรียกแม่ค้าเลย)
ซ้ายกลาง – เต็นท์นี้นำเสนอชุดชั้นในชายหญิงล้วนๆ โดยของผู้ชายมีกางเกงในและบ๊อกเซอร์ ส่วนผู้หญิงมีค่อนข้างเยอะ ทั้งยกทรง กางเกงใน และเสื้อซับใน
ขวากลาง – ทางกศน.มาเปิดรถเข็นเล็กๆให้ประชาชนอ่านหนังสือกันฟรีๆ สำหรับประเภทหนังสือก็เช่น นิทานอีสปไทยและอังกฤษ ศิลปะการพูด แบบหัดเขียน ABC หนังสือท่องเที่ยว การ์ตูนความรู้ ฯลฯ
- บริเวณถนนอรุณประเสริฐพอเห็นภาพแล้ว เรากลับไปสี่แยกถนนคนเดินอีกครั้ง แล้วเลี้ยวเข้าโซนคลำคล่ำบนถนนวิศิษฐ์ศรีฝั่งถนนหน้ากว้างเลย
กลาง – วินาทีที่เลี้ยวเข้ามา ความคึกคักก็จู่โจมเราแบบไม่ตั้งตัว ผู้คนในละแวกและนักท่องเที่ยวเดินกันเต็มหน้าตักถนนจริงๆท่ามกลางบ้านไม้สองฟากริมแม่น้ำโขง
- สำหรับถนนคนเดินหน้ากว้างมีของกินของใช้มากมาย แต่สินค้าดึงดูดอยู่ที่ของกิน ถ้าอย่างนั้นเราเอาฤกษ์เอาชัยกับของใช้ก่อน
ซ้ายล่าง – ผ้าซิ่นฝ้ายบนถนนคนเดินที่นี่จัดหนักไปทุกหย่อมหญ้า นักท่องเที่ยวมีตัวเลือกจุใจแน่นอน
ขวาล่าง – แม่ค้าร้านนี้มีเสื้อผ้าเด็กมาจำหน่าย
ชีพจรลงเท้ากันต่อ
ซ้ายบน – เสื้อที่ระลึก“ถนนคนเดินเขมราฐ”มีให้เลือกหลายแผง ชอบสีไหน ก็ขอแม่ค้ากางชมลายได้
ขวาบน – พ่อลูกคู่นี้น่ารักดี พ่อรับบทบาทขาย ขณะที่ลูกนั่งซนตามประสา สำหรับแผงเสื้อด้านหลังมีทั้งเสื้อชายหญิงแขนสั้นและยาว ส่วนด้านหน้าเป็นรองเท้าแตะผู้ใหญ่ทั้งแบบหนีบและสวม รวมทั้งรองเท้าเด็ก
ซ้ายกลาง – เจ้านี้รับวาดภาพล้อเลียน เก้าอี้มีพร้อมสรรพสำหรับลูกค้า โดยภาพสีและขาวดำราคาจะต่างกัน
ขวากลางบน - มีแผงรองเท้าแล้ว ก็ต้องมีแผงถุงเท้าตามมาประกบด้วย
ขวากลางล่าง – มุมนี้เป็นของนาฬิกาข้อมือ ใครอยากได้รุ่นกันน้ำ ให้ถามพ่อค้าก่อน
ซ้ายล่าง – น้าเสื้อกล้ามหลังร้านจำหน่ายสายรัดผ้าถุงและพวงกุญแจผ้าฝ้าย ทั้งหมดเป็นงานแฮนด์เมดล้วนๆ
ขวาล่าง – ตอนนี้มาเจอแผงพระเครื่องสำหรับเซียนพระที่โต๊ะนี้
หลังจากสำรวจของใช้จนได้ที่ เตรียมเต็มอิ่มกับของกินที่กรีฑาทัพเข้ามาเลย
ซ้ายบน – แม่ค้าทำก๊วยจั๊บใส่ถุงรออยู่ ส่วนเครื่องในก็มากันครบเซ็ต
ขวาบน – ยำปูม้า ยำรวม ยำหอยนางรม ยำหมูยอ ยำกุ้ง ยำหมึก และยำเล็บมือนางกำลังอ้าแขนรับสายยำทุกคน
ซ้ายกลางบน – คนขายร้านนี้มีทั้งแกงเปรอะ น้ำพริกปลาทู และน้ำพริกเห็ด
ขวากลางบน – ใครอยากกินตำกระท้อน ตำกล้วยตานี หรือตำปลีกล้วย เมนูทั้งสามกำลังเฉิดฉายอยู่ด้านหน้า
ซ้ายกลางล่าง – มุมเล็กๆนี้มาพร้อมยำหน้ากากหมู ก้อยหมู และหมูแดดเดียวทอด
ขวากลางล่าง – พ่อค้าบรรเลงผัดไทยอยู่ในกระทะ แผงนี้มีทั้งเส้นเล็กและวุ้นเส้นให้ตัดสินใจ
ซ้ายล่าง – นกกระทาหันหมุนไปมาบนเตาถ่าน ในถนนคนเดินที่นี่เห็นอยู่หลายร้านทีเดียว
ขวาล่าง – สามีรับหน้าที่ย่าง ส่วนภรรยาอาสาหั่นและใส่ถุงพร้อมน้ำจิ้ม สำหรับช้อยส์ให้เลือกมีไส้ตัน(ไซส์เล็ก) ไส้อ่อน ขั้วหัวใจ หูหมู และจมูกหมู
สนุกกับบรรยากาศสองข้างทางต่อ
บน – มาชมภาพรวมบนถนนคนเดินเมื่อเข้ามาด้านในบ้าง ไม่ว่าจุดไหนๆก็มีแต่นักท่องเที่ยวที่ลั้ลลากับสีสันยามเย็นและสินค้าทั้งสองข้างทาง ที่สำคัญคือ ถนนหน้ากว้างฟากนี้ยกแลนมาร์กต่างๆของเมืองเขมราฐมาไว้กลางถนนให้นักท่องเที่ยวได้แชะรูปคู่เป็นที่ระลึกด้วย ซึ่งมีทั้งหมดสี่จุดและตั้งเว้นช่วงเป็นระยะ เริ่มตั้งแต่ตู้ไปรษณีย์สีแดงขนาดใหญ่ก่อน ตามมาด้วยเสาป้ายรูปหัวใจพร้อมข้อความ“ออนซอน เขมราฐ”และตู้ไปรษณีย์สีแดงขนาดเล็ก ถัดมาคือเสาโคมไฟพร้อมป้ายสโลแกน“เขมราฐ ดินแดนแห่งความเกษมสุข”ที่นักท่องเที่ยวกำลังตั้งกล้องตามภาพนี้ และท้ายสุดก็คือ หอนาฬิกาเมืองเขมราฐนั่นเอง
ซ้ายบน – สินค้าโดดเด่นของน้าแผงนี้ได้แก่ ปลาส้มและแหนมปลา(ทั้งแบบเปรี้ยวและไม่เปรี้ยว) ที่เหลือมีปลาร้า น้ำพริก หนังเค็ม รวมทั้งข้าวต้มหมู
ขวาบน – โต๊ะนี้มีของกินเล่นต่างๆคือ มะยมเชื่อมเสียบไม้ กล้วยตาก กล้วยแผ่น และทอดมันหัวปลี
ขวากลาง – น้องผู้หญิงมีขนมมาให้จับจ่ายกัน เริ่มตั้งแต่ขนมถ้วยฟู ขนมถ้วย ขนมกล้วย ขนมใส่ไส้ รวมทั้งสลัดโรล
ซ้ายล่าง – แม่ค้าโต๊ะนี้ทำข้าวจี่โดยเคลือบไข่ให้เป็นแผ่นลอนๆบนตัวข้าว สร้างความเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ที่เหลือมีขนมปังนึ่งไส้สังขยา ไส้บลูเบอร์รี และไส้ครีม รวมทั้งขนมปังปิ้งทาเนยน้ำตาล
ขวาล่าง – บรรดาของนึ่ง ของย่าง และของทอดมาชุมนุมอยู่ร้านนี้แล้ว ตั้งแต่ลูกชิ้น ไส้กรอก จ๊อไก่ เกี๊ยวหมู และหมึก
กินกันจนเครื่องชั่งน้ำหนักได้ทำงานแน่
ซ้ายบน – ความเผ็ดร้อนแบบหมาล่ามาพบกันอีกครั้งพร้อมเมนูมากมายให้ออเดอร์ เช่น เต้าหู้ปลา เห็ดออรินจิ เนื้อไก่ เนื้อหมู บร็อกโคลี หมึกหลอด ปูอัด เบคอนพันเห็ดเข็มทอง ไส้กรอก กระเจี๊ยบเขียว ยอดทานตะวัน ฯลฯ หยิบไม้ถูกใจไว้ เดี๋ยวพ่อค้าจะปิ้งพร้อมเหยาะเครื่องใส่ถ้วย เป็นอันเสร็จพิธี
ขวาบน – ทีเด็ดของป้าร้านนี้คือข้าวหมากโบราณ ขณะที่แนวหลังเป็นข้าวโป่ง
ซ้ายกลางบน – ที่แขวนจำหน่ายทั้งสามสีมีหม่ำเนื้อ ไส้กรอกเนื้อ และไส้กรอกหมู
ขวากลางบน – มุมนี้มีกล้วยปิ้ง ไข่ทรงเครื่อง และขนุนชิ้นมาให้ลิ้มลอง
ซ้ายกลางล่าง – ปลาแห้งเต็นท์นี้มีทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเล แต่ถ้าใครชอบปลาหวานกับกุนเชียง เจ้านี้ก็ขายเช่นกัน
ขวากลางล่าง – กลิ่นขนมครกของป้าลอยฟุ้งมาแต่ไกลเลย
ซ้ายล่าง – ซุ้มนี้เป็นหน้าที่ของน้ำมะพร้าวสดและน้ำมะพร้าวเผา สำหรับมะพร้าวสดมีทั้งแบบปอกสดและแบบผสมน้ำเชื่อม
ขวาล่าง – สำหรับใครที่อยากกินไอศกรีมโฮมเมด พ่อค้าทำเองคนนี้มีรสชาเขียว ช็อกโกแลต วานิลลา มะนาว และช็อกโกแลตชิพ ส่วนใครอยากใส่โคนหรือถ้วย รบกวนบอกล่วงหน้านิดหนึ่ง
สินค้าบริโภครุมล้อมเราทุกทิศทาง
ซ้ายบน – นอกจากของกินสำเร็จรูป ของสดก็เข้ามาอวดโฉมด้วย แม่ค้าแผงนี้จึงมีสินค้าดังนี้ แถวบนคือผักหวาน ดอกกระเจียว แมงแคง และไข่มดแดง ส่วนแถวล่างในถุงคือ อึ่งเพ้าและอึ่งยาง
- หลังจากดูแผงลอยริมถนนแล้ว เราไปดูตามบ้านสักเล็กน้อย
ขวาบน – สำหรับหลังนี้เปิดหน้าร้านขายเบียร์วุ้น หลายคนให้การตอบรับดี
ซ้ายกลาง – ขณะที่บ้านนี้จำหน่ายก๋วยจั๊บญวน(ใส่ไข่และไม่ใส่ไข่) ข้าวต้ม(ไส่ไข่และไม่ใส่ไข่) มาม่า(ใส่ไข่และไม่ใส่ไข่) ไข่กระทะ ไข่ลวก ขนมปังเนยนม ขนมปังนมสตรอว์เบอร์รี ขนมปังนมช็อกโกแลต น้ำเปล่า โค้ก ชากาแฟ และเบียร์
ขวากลาง – ส่วนหลังนี้ตกแต่งร้านน่ารักๆด้วยของโชว์คลาสสิก โดยเมนูหลักคือ กาแฟ เริ่มจากเอสเพรสโซ มอกค่า อเมริกาโน คาปูชิโน ไปจนถึงลาเต้ แต่น้ำผลไม้ก็มีด้วย
- เป็นอันว่าถนนคนเดินหน้ากว้างบนถนนวิศิษฐ์ศรีก็เรียบร้อย ต่อไปจากสี่แยกถนนคนเดิน เราเลี้ยวซ้ายไปอีกด้านกัน
กลาง – นักท่องเที่ยวมืดฟ้ามัวดินไปทุกแห่ง คลื่นมหาชนด้านนี้ไม่แพ้ใครจริงๆ และถึงแม้ฝั่งนี้เป็นถนนคนเดินหน้าแคบ แต่ข้าวของก็อัดแน่นเช่นกัน โดยเฉพาะของใช้ที่เด่นกว่าใคร ตอนนี้ทีมงานขอประเดิมของกินก่อน
ซ้ายล่าง – เจ้านี้มีหม้อแกงเผือก วุ้นกะทิ ฝอยทอง ขนมมัน ขนมถ้วยฟู และลอดช่องน้ำกะทิมาเสริฟคนในงาน
ขวาล่าง – ขณะที่โต๊ะนี้มีข้าวเหนียวมะม่วงเป็นแกนนำ
หันซ้ายแลขวากันต่อ
ซ้ายบน – เราเดินมาเจออาหารอีสานเข้าให้ แม่ค้าร้านนี้มีตำปูปลาร้า ตำมั่ว ตำซั่ว ตำป่า และตำทะเล ทั้งนี้ยังมีห่อหมก ไส้กรอกอีสาน ไก่ย่าง และข้าวเหนียวเป็นเพื่อนร่วมแผง
ขวาบน – ใครอยากกินน้ำผลไม้ปั่นหรือคั้นอะไร ร้านนี้มีสับปะรด แตงโม ส้ม และมะนาว นอกจากนี้ยังมีชาเย็น ชาเขียว นมเย็น รวมทั้งเฉาก๊วยนมสด
ซ้ายกลางบน – น้ำเต้าหู้ก็ขอร่วมวงศ์ไพบูลย์กับเขา
- ของกินพอชื่นมื่นแล้ว เราไปลุยแผงของใช้ต่อเลย
ขวากลางบน – พ่อค้ามุมนี้จำหน่ายเสื้อยืดผู้ชายแขนสั้นและยาวเต็มแผง
ซ้ายกลางล่าง – แผงถัดมายังมีเสื้อฮู้ด เสื้อแขนสั้นและยาว เสื้อบาส แจ๊กเก็ต และกางเกงบ๊อกเซอร์อีก
ขวากลางล่าง – ซุ้มนี้เป็นเรื่องของเสื้อผ้าสตรีสารพัดแบบและเนื้อผ้า ทั้งแขนสั้น แขนยาว แขนกุด สายเดี่ยว หรือแนวเอี๊ยม เชิญเข้าไปสอบถามพ่อค้าได้
ซ้ายล่าง – แม่ค้ากางเกงยีนส์เจ้านี้มีทั้งแบบชายและหญิงมาให้เลือก ใครอยากได้ขาเดฟหรือขากระบอก รอฟังคำตอบได้เลย
ขวาล่าง – กางเกงขาสั้นลวดลายสดใสของสาวๆอยู่บนแผงแล้ว
โซนนี้มีของใช้อะไรให้ชมอีก ไปดูกัน
ซ้ายบน – ผ้าซิ่นฝ้ายติดตามเราไปทุกหนแห่ง ไม่เจอฟากนี้ ก็ต้องเจอฟากโน้น ที่เหลือในซุ้มมีผ้าพันคอ กระเป๋า เสื้อสตรี และผ้าเช็ดเท้า
ขวาบน – โต๊ะนี้มีผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอนขิด ปลอกหมอนหนุน ปลอกหมอนข้าง ผ้าขาวม้า และกล่องใส่ทิชชู่มาเติมเต็ม
ซ้ายกลางบน – โซนนี้เปิดหน้าแผงแบบอลังการงานสร้าง สินค้าแถวหน้าบนตะแกรงคือ รองเท้าสตรี ขณะที่ด้านหลังมีกระเป๋าและเป้มาช่วยเสริม
ขวากลางบน – เด็กวัยรุ่นมานั่งขายกิ๊บติดผมสีสันสดใสชวนน่ารักอาโนเนะ
ซ้ายกลางล่าง – คนไหนชอบสร้อย กำไล สายข้อมือ ตัวติดกระเป๋า และกำไลที่มีแร่หินนำโชคเป็นตัวชูโรง เช่น เทอร์ควอยซ์ เคลียร์ควอยซ์ ฯลฯ น่าจะถูกใจร้านนี้ไม่ยาก
ขวากลางล่าง – แล้วเราก็เจอแผงของเล่นเด็ก สินค้าทั้งหมดมีเฮลิคอปเตอร์ หุ่นยนต์ ดาบของเล่น กีตาร์ ปืนของเล่น ชุดแต่งตัวตุ๊กตา รถแข่ง รถบัส รถบรรทุก รถเครน และรถแม็กโคร นอกจากนี้ยังมีโหวด แคน ครก และหม้อดินเผาด้วย
ซ้ายล่าง – ตุ๊กตาเด็กและตุ๊กตาหมีมีนัดอยู่ที่แผงนี้ บนโต๊ะยังมีเครื่องประดับสตรีมาเป็นตัวเลือกอีก
ขวาล่าง – แผงนี้คัดสรรข้าวของจิปาถะมามากมาย เช่น เครื่องไดร์ผม เครื่องหนีบผม ไฟฉาย เครื่องคิดเลข พัดลมพกพา ลำโพงบลูทูธ นาฬิกาข้อมือ อแดปเตอร์ชาร์จไฟ หูฟังสมอลทอล์ก ตัวจับมือถือ ชุดกุญแจ น้ำหอม เข็มขัด กระเป๋าสตางค์ ฯลฯ
มาตบท้ายของใช้อีกสองแผง
ซ้ายบน – พ่อค้าแผงนี้มีเคสมือถือ หูฟัง สายชาร์จ อุปกรณ์มือถือ รวมทั้งรับติดฟิล์มหน้าจอด้วย ใครสนใจก็เร่เข้ามา
ขวาบน – ซุ้มนี้บริการตัดแว่นสายตาพร้อมวัดสายตาฟรี เสร็จแล้วก็ไปเลือกกรอบแว่น(ที่ชอบ)หน้าร้าน
- หวังว่า ทุกคนที่เกาะติดสถานการณ์มาตั้งแต่ต้น จะพอนึกภาพข้าวของบนถนนคนเดินทั้งสายออกแล้ว แต่การบรรยายยังไม่จบลงง่ายๆ เนื่องจากมีกิจกรรมให้เล่าสู่อีก เริ่มจากการแสดงรับบริจาค ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่จัดตั้งแต่สี่แยกถนนคนเดิน แล้วเลี้ยวซ้ายไปถนนคนเดินหน้าแคบ (ขณะที่ถนนหน้ากว้างทำเป็นมุมที่ระลึกอยู่กลางถนนอย่างที่แจ้งไป แต่ก็พอมีเปิดหมวกอยู่ริมถนนบ้าง) ดังนั้น กิจกรรมต่อไปนี้จึงเกิดขึ้นบนถนนคนเดินหน้าแคบ
ซ้ายกลาง – น้องผู้หญิงสองคนรับหน้าที่ดีดพิณหนึ่งคน อีกคนฟ้อนรำ โดยมีไหสานด้านหน้าเป็นที่ตบรางวัล
ขวากลางบน – ส่วนน้องผู้ชายคนนี้ขอโซโลกีตาร์พร้อมขับกล่อมเพลงไทยสากลให้ทุกคนได้ฟังกันเพลินๆ
ขวากลางล่าง – จนมาถึงน้องผู้หญิงเสื้อเหลืองที่เปิดเพลง แล้วเต้นคัฟเวอร์แดนซ์ให้ชม (จากภาพ มีน้องอีกคนยืนหลบฉากอยู่ทางซ้ายของภาพเพื่อรอรับช่วงต่อ)
- กลับมาฝั่งถนนหน้ากว้างบ้าง ยังมีกิจกรรมให้จับจองที่นั่งอีก
ซ้ายล่าง – ชาวบ้านที่นี่เปิดดนตรีพื้นบ้านพร้อมรำภูไทให้นักท่องเที่ยวได้ซึมซับประเพณีอันงดงาม หลายคนถ่ายคลิปและลั่นชัตเตอร์กันรัวทีเดียว
ขวาล่าง – และทุกวันเสาร์เท่านั้นที่บ้านท่านขุนริมถนนคนเดิน(ติดกับบ้านขุนภูรีประศาสน์ที่จัดเป็นโซนถ่ายรูป)จะเปิดบ้านไม้พิพิธภัณฑ์ของเก่าสะสม(ที่ชาวเขมราฐต่างนำมาวางโชว์)ให้นักท่องเที่ยวได้ชม นอกจากบ้านไม้เก่าแก่แล้ว บรรยากาศย้อนยุคจากสิ่งของเหล่านี้ก็ช่วยกระตุ้นอดีตเก่าๆให้หวนกลับมาได้ ส่วนใครมาวันอื่นที่ไม่ใช่วันเสาร์ บ้านหลังนี้จะปิดสนิท
- เกือบลืมไป จากที่เดินมาจนครบ ทีมงานขอโหวตว่า ถนนคนเดินที่นี่ทำให้เมืองเขมราฐเป็นดินแดนเกษมสุขสมคำร่ำลืออีกเสียง
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
425 | 5362 | 297754 |