ถ้ำทะลุเป็นภูเขาที่มีโพรงถ้ำซึ่งสามารถเดินทะลุได้ทั้งสองด้าน แต่บริเวณด้านหน้าจะมีพื้นที่กว้างขวางกว่า ด้านนี้จึงมีการสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิม(หรือศาลเจ้าโรกิเตศวรโพธิสัตว์กวนอิม)ขึ้นมา ซึ่งศาลเจ้าแห่งนี้อยู่คู่กับถ้ำทะลุมากว่าร้อยปีแล้ว ในปี พ.ศ.2527 มีการสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็คือหลังปัจจุบัน และยังมีโรงละครหนังตะลุงหลังเล็กสำหรับจัดแสดงด้วย แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน
นอกจากศาลเจ้าแม่กวนอิมแล้ว บริเวณผนังถ้ำด้านข้าง(ทางซ้าย)ยังทำทางให้ผู้ที่มาศาลเจ้าได้ขึ้นไปกราบไหว้พระพุทธรูปบนฐานด้านบนอีก สำหรับด้านหลังศาลเจ้าแม่กวนอิมก็มีบันไดให้ขึ้นไปกราบศาลเจ้าหลังเล็กอีกแห่งเช่นกัน
ตอนเห็นป้าย“ตำบลถ้ำทะลุ”อยู่ริมถนนสาย 410 ทีมงานรู้ทันทีว่า ทุกอย่างต้องมีความเชื่อมโยงแน่นอน จึงสอบถามชาวบ้าน แล้วก็ถึงบางอ้อว่า ถ้ำทะลุดังกล่าวไปทางไหน ซึ่งครั้งแรกก็เข้าใจว่า คงเป็นถ้ำตามธรรมชาติกลางป่าเขา แต่กลับไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะมีศาลเจ้าอยู่ในถ้ำ แถมถ้ำนี้ก็อยู่ใกล้กับชุมชนด้วย
- ถ้ำทะลุมีโพรงที่ทะลุได้สองฝั่ง ด้านหน้าเป็นปากถ้ำกว้างและแบ่งเป็นสองช่องทางเดินซ้ายและขวาเพื่อเข้าสู่ตัวถ้ำ โดยมีศาลเจ้า(ที่ชาวตำบลถ้ำทะลุต่างนับถือ)คั่นกลาง เมื่อเข้าไปแล้ว เพดานและผนังถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยและอากาศที่เย็นสบาย ส่วนทางออกด้านหลังแต่ละฝั่งจะมีประตูปิดเปิดของแต่ละด้าน
บน – จากด้านหน้ามองเข้าไปยังถ้ำทะลุ ศาลเจ้าโรกิเตศวรโพธิสัตย์กวนอิมจะตั้งอยู่ปากถ้ำตามภาพ โดยด้านหลังศาลเจ้าก็คือโพรงถ้ำที่อีกสักครู่จะเข้าไปชม (จากภาพ ศาลเจ้าโรกิเตศวรโพธิสัตย์กวนอิมตั้งอยู่กลางภาพ ขณะที่ด้านข้างศาลเจ้าทางซ้ายคือทางเข้าออกถ้ำและด้านข้างศาลเจ้าทางขวาเป็นทางเข้าออกถ้ำอีกฟาก ส่วนอาคารสีเหลืองขวาสุดเป็นที่เก็บของและสำนักงาน)
ไปดูกันว่า ในถ้ำมีอะไร
ซ้ายบน – บริเวณนี้สร้างเป็นฐานปูนยกสูงเป็นชั้นๆริมผนังถ้ำ แต่ละชั้นมีพระพุทธรูปประดิษฐานอย่างที่เห็น (จากภาพ ถ้าเรามองภาพ“บน”อีกครั้ง เหนือตัวอักษร rn จะเห็นบันได บันไดนี้ก็คือทางขึ้นฐานเพื่อไปสักการะพระพุทธรูปด้านบนนั่นเอง แต่ถ้าไม่ขึ้นบันได แล้วเดินข้างศาลเจ้าต่อไป ก็จะพบบันไดด้านหลังศาลเจ้าอีกจุด และถ้าเราไม่ขึ้นบันไดหลังศาลเจ้าและเดินตรงไปแทน ก็จะพบประตูบริเวณท้ายศาลเจ้าทางซ้าย)
ขวาบน – คราวนี้ขึ้นบันไดด้านหลังศาลเจ้าจากฝั่งซ้ายมือเลย
ซ้ายกลาง – เมื่อเดินขึ้นบันไดหลังศาลเจ้ามาได้เล็กน้อย ถ้าเราหันหลังกลับไปมองด้านหลังอีกครั้ง ก็จะเห็นพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บนฐานปูนยกสูงริมผนังถ้ำ(ที่ทีมงานเพิ่งผ่านมา) นอกจากนี้ยังเห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานโดดเด่นเพียงลำพังอีกหนึ่งองค์บนชะง่อนของผนังถ้ำหน้าอักษร w ตัวแรกด้วย (จากภาพ บันไดที่ขึ้นมานี้ ถ้าเดินขึ้นไปต่อ จะมีศาลเจ้าหลังเล็กตั้งอยู่ ขณะที่ด้านหลังศาลเจ้าหลังเล็กนี้ จะโบกปูนกั้นไว้ ไม่สามารถเดินต่อได้ เราต้องลงบันไดอีกฟากแทน)
ขวากลางบน – ระหว่างบนบันได เราจะพบหินงอกหินย้อยและปล่องบนเพดานถ้ำด้วย
ขวากลางล่าง – พอลงบันไดไปอีกฟากแล้ว ก็จะเป็นทางเดินจากข้างศาลเจ้าทางขวาเข้ามา ถ้าเราเลี้ยวซ้ายก่อน ปลายทางก็คือประตูบริเวณท้ายศาลเจ้าฝั่่งขวานั่นเอง
ซ้ายล่าง – แต่ถ้าลงบันได แล้วเลี้ยวขวาไป ทุกคนก็จะกลับออกมาที่ด้านหน้าศาลเจ้าฝั่งขวาบริเวณอักษร dernt (จากภาพ อาคารซ้ายมือคือ ศาลเจ้าโรกิเตศวรโพธิสัตย์กวนอิม ส่วนศาลเล็กๆทางขวาก็คือ ศาลเจ้าพ่อกวนอู)
ขวากลาง – เราเข้ามาในศาลเจ้าโรกิเตศวรโพธิสัตย์กวนอิมกันบ้าง ภายในมีองค์เจ้าแม่กวนอิมให้กราบไหว้ รวมทั้งจุดปักธูปและมุมเสี่ยงเซียมซี
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
295 | 5232 | 297624 |