วัดเชิงเขาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวอำเภอบาเจาะมานาน ในบริเวณวัดมีวิหารหลวงพ่อแดง ธมมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงเขาที่มรณภาพด้วยโรคชรา แต่ปรากฏว่าสังขารไม่เน่าเปื่อยและกลายเป็นหิน ทำให้ผู้คนทั่วไปเชื่อว่าหลวงพ่อแดงมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงเก็บไว้ในโลงกระจกเพื่อกราบไหว้บูชา
นอกจากวัดเชิงเขาจะเงียบสงบแล้ว ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามเพราะด้านหลังวัดเป็นภูเขาและมีดงมะพร้าวขึ้นเรียงรายมากมาย
ถึงแม้อำเภอบาเจาะจะมีมัสยิดมากมาย แต่ก็มีวัดไทยที่สร้างชื่อเสียงให้อำเภอเช่นกัน เนื่องจากมีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่แดง(อดีตเจ้าอาวาสวัด)มากมาย นอกจากนี้ เมื่อท่านมรณภาพไป ร่างกายของท่านกลับไม่เน่าเปื่อยด้วย จนกลายเป็นที่กล่าวถึง ท่ามกลางวิวธรรมชาติและความเงียบสงบ เราเข้าไปทำความรู้จักวัดแห่งนี้กัน
บน – จากหน้าวัดเชิงเขา ทำเลภายในถือว่าดีเลยเพราะมีภูเขาบูโดเป็นฉากหลัง ซึ่งในอดีตวัดแห่งนี้เคยอยู่ที่บ้านปลักใหญ่มาก่อน แต่เนื่องจากพื้นที่เดิมเป็นที่ลุ่มและเกิดน้ำท่วมบ่อย หลวงปู่แดงและชาวบ้านจึงหาสถานที่แห่งใหม่เพื่อสร้างวัด บ้านเชิงเขามีปัจจัยที่เอื้ออำนวยเพราะมีชาวไทยพุทธอาศัยอยู่ด้วย ทุกอย่างจึงลงเอยอย่างที่เห็น
ตอนนี้ก็ได้เวลาชมสิ่งต่างๆที่สำคัญของวัดเชิงเขากัน
ซ้ายบน – โบสถของวัดเชิงเขา
ขวาบน – บรรยากาศภายในโบสถ์และพระประธาน
ขวากลางบน – อาคารทางขวาคือ ศาลาเฉลิมพระเกียรติ ส่วนอาคารทางซ้ายคือ วิหารหลวงปู่แดง ธมมโชโต
- เดี๋ยวเราเข้าไปชมทีละอาคารกัน
ขวากลางล่าง – ภายในศาลาเฉลิมพระเกียรติเป็นที่ประดิษฐานองค์หลวงปู่ทวด
ซ้ายล่าง – บรรยากาศในวิหารหลวงปู่แดง ซึ่งผู้ที่เลื่อมใสต่างเข้ามากราบไหว้กัน ขณะที่ด้านหลังเป็นโลงแก้วบรรจุสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่แดง ประวัติคร่าวๆของหลวงปู่แดงนั้น เมื่ออายุ 13 ปี ได้เรียนหนังสือกับเจ้าอธิการจันทร์(เจ้าอาวาสวัดไม้แก่น) พออายุ 21 ปีก็มาเรียนหนังสือกับพระอธิการเส้ง(เจ้าอาวาสวัดเชิงเขา) จากนั้นได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2451 ได้รับฉายาว่า พระแดง ธมมโชโต ในปี พ.ศ.2454 พระแดง ธมมโชโยเดินทางไปศึกษาต่อที่วัดดอนแย้ เมืองสงขลา ต่อมา เจ้าอาวาสวัดเชิงเขาอาพาตและมรณภาพลง พระแดง ธมมโชโยเป็นผู้ฌาปนกิจศพและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงเขา ในขณะนั้น วัดเชิงเขายังไม่มีโรงเรียนสอนหนังสือไทย เหล่าศิษย์วัดต้องอาศัยศาลาเป็นที่เล่าเรียน หลวงพ่อแดงจึงสละทุนทรัพย์ส่วนตัวสร้างอาคาร 1 หลัง 2 ชั้นและยาว 5 ห้องเรียนขึ้นในพื้นที่วัดเชิงเขา ต่อมาเจ้าอาวาสวัดไม้แก่นได้มรณภาพลง หลวงพ่อแดงจึงได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสอีกวัดหนึ่งด้วย ในปี พ.ศ.2485 หลวงพ่อแดงออกธุดงค์ไปตามป่าช้าและพักแรมตามโคนต้นไม้เพื่อแสวงหาความวิเวก โดยออกเดินทางจากวัดจนถึงกรุงเทพและจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวรารามเป็นเวลา 1 พรรษา เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้เดินธุดงค์พร้อมหมู่สงฆ์ 300 รูปไปยังภาคเหนือ แล้วกลับกรุงเทพอีกครั้งในปี พ.ศ.2494 จากนั้นได้จาริกเดินทางอยู่ในหลายจังหวัดของภาคกลาง ก่อนเดินธุดงค์ลงภาคใต้เพียงลำพังจนถึงปัตตานีและพักอยู่ที่วัดนิกรชนาราม แล้วเข้าจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และประเทศมาเลเซียต่อ จากนั้นกลับมาจำพรรษาที่วัดเทพวิมลในอำเภอสุไหงโก-ลก หลวงพ่อแดงมรณภาพลงเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2522 ที่ตึกสงฆ์ของโรงพยาบาลประจำจังหวัดปัตตานี รวมอายุได้ 90 ปี และเนื่องจากร่างกายท่านไม่เน่าเปื่อย ทางคณะกรรมการวัดจึงบรรจุศพท่านไว้ในโลงแก้ว แล้วเก็บไว้ในวิหาร ผู้ที่เลื่อมใสสามารถมากราบไหว้ได้ทุกเมื่อ
ขวาล่าง – หอระฆัง
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
461 | 5398 | 297790 |