วัดกลางธรรมสาคร (วัดกลาง)

คำอธิบาย


วัดกลางธรรมสาคร(หรือวัดกลาง)เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณปี พ.ศ.2285 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาราวปี พ.ศ.2300

บริเวณวัดมีอุโบสถหลังเก่าอยู่ 1 หลัง กรม
ศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะลาวหลวงพระบาง นอกจากนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เก่าแก่หายาก ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานชาดกและเทพชุมนุม


เสียงร่ำลือถึงภาพเขียนสีโบราณบนผนังอุโบสถตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทำให้ทีมงานต้องเดินทางมาวัดแห่งนี้เพื่อให้เห็นกับตา ถึงแม้ภาพจะดูเก่าและบางจุดเริ่มจางหายไป แต่โดยรวมถือว่าสมบูรณ์และงดงามอยู่ จิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดและฝีมือของผู้คนในยุคนั้นอีกด้วย
บน – บรรยากาศในวัดสงบร่มรื่นท่ามกลางต้นไม้และศาสนสถานที่ตั้งอยู่โดยรอบ (จากภาพ ฐานอิฐยกพื้นและเสาอิฐหลายๆต้นกลางภาพคือ วิหารกลางแจ้งหลังเก่า ริมซ้ายสุดที่เห็นเป็นหลังคาคือ วิหารหลังใหม่ ส่วนทางขวามุมไกลที่เห็นเป็นหลังคาเช่นกันคือ อุโบสถหลังเก่าที่มีภาพเขียนสีโบราณอยู่ ทั้งนี้ยังมีโบสถ์หลังใหม่ด้วย แต่อยู่อีกตำแหน่งหนึ่งของวัด)
- ทีมงานขอเริ่มที่วิหารกลางแจ้งหลังเก่าก่อนเลย
ซ้ายบน – พระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งพร้อมเสาอิฐที่ตั้งขนาบข้างตลอดแนว
ขวาบน – วิหารหลังใหม่
ซ้ายล่าง – ภายในวิหารหลังนี้มีพระพุทธรูปปางห้ามญาติประดิษฐานอยู่และรายล้อมด้วยพระพุทธรูปองค์เล็กมากมาย (จากภาพ วิหารหลังนี้ไว้สำหรับเก็บพระพุทธรูปต่างๆ)
ขวาล่าง – โบถส์หลังใหม่มีลักษณะทรงสูง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2535

 



เดินชมวัดให้ครบถ้วนกระบวนความ
ซ้ายบน – พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์หลังใหม่
ขวาบน – และจุดสนใจของวัดกลางธรรมสาครก็คือ อุโบสถหลังเก่านี้ เดี๋ยวเราเข้าไปชมด้านในดีกว่า
ซ้ายกลาง – พระประธานในอุโบสถมีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมผสานศิลปะหลวงพระบาง เรายังเห็นเครื่องบนสีแดงอยู่บนเพดานด้วย ขณะที่ผนังของอุโบสถรายล้อมไปด้วยภาพเขียนสีโบราณ โดยผนังด้านหลังพระประธานวาดเป็นซุ้มเรือนแก้วทั้งหมดสามซุ้ม ส่วนผนังด้านข้างทั้งสองฝั่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานชาดกและเทพชุมนุม
ขวากลาง – เรามามองผนังฝั่งซ้ายของอุโบสถแบบเต็มๆบ้าง ภาพเขียนสีจะอยู่เหนือหน้าต่างขึ้นไป โดยแบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน ส่วนบนแบ่งเป็นสามแถว แถวบนสุดคือ พระภิกษุ แถวกลางคือ เทพ แถวล่างคือ นักสิทธิ์ ขณะที่ส่วนล่างคือ เรื่องราวของนิทานชาดก (จากภาพ เราจะเห็นตาลปัตรแขวนอยู่บนผนังด้วย ซึ่งก็คือ"ตาลปัตรทศชาติชาดก"นั่นเอง)
- ต่อไปขอเก็บตกภาพเขียนสีบางส่วนของนิทานชาดกบนผนังอุโบสถมาให้พิจารณา
ซ้ายล่าง – ภาพเขียนสีมุมแรก
ขวาล่าง – และภาพเขียนสีอีกมุมหนึ่ง (อนึ่ง นักท่องเที่ยวที่สนใจชมจิตรกรรมเขียนสีโบราณนี้ ต้องติดต่อขออนุญาตกับเจ้าอาวาสก่อน เนื่องจากอุโบสถหลังเก่าจะลงกลอนตลอดเวลา)







TODAY THIS MONTH TOTAL
404 5341 297733
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top