เรือรบหลวงประแส

คำอธิบาย


เรือรบหลวงประแสเป็นเรือประเภทฟรีเกต ชื่อเดิมคือ USS.GAL-LUP (PE-2) INTERNATIONAL CALLSING “HSXX” ชั้น RIVER CLASS สร้างที่บริษัท Consolidatec Steel Corporation Calif USA โดยวางกระดูกงูเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2486 และปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2486 เรือรบหลวงประแสสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2487 ราชนาวีไทยได้รับมอบจากความช่วยเหลือของทหารสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2494 ที่อู่โยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น

เรือรบหลวงประแสมาประจำการในสังกัด กปด.กร. เมื่อปี พ.ศ.2498 และหลังจากผ่านพ้นภารกิจประจำการมาเกือบ 50 ปี กองทัพเรือจึงอนุมัติจำหน่ายเรือรบหลวงประแสให้แก่จังหวัดระยองเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2546 และวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2546 กองทัพเรือนำโดย พลเรือตรีพิสิฎฐ์ อยู่รอด ผู้อำนวยการอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ได้ทำพิธีลงนามที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ส่งมอบเรือรบหลวงประแสให้จังหวัดระยอง โดยนาย วิจารณ์ ไชยนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองเป็นตัวแทนผู้รับมอบ

ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2546 เวลา 15:00 น. เรือรบหลวงประแสได้เคลื่อนย้ายจากอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากการสนับสนุนของกองทัพเรือในการลากจูงเรือมาถึงจังหวัดระยองโดยอ้อมเกาะมันมาจอดพักที่ตำบลพังราด อำเภอแกลง และในเวลา 06:00 น. ของวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2546 ชาวประมงลุ่มน้ำประแสร่วมกันนำเรือประมงลากจูงเรือรบหลวงประแส ต่อจากกองทัพเรือ และมาถึงปากแม่น้ำประแสเวลาประมาณ 10:00 น. โดยจอดพักเรือเป็นเวลา 1 คืน ช่วงระหว่างเรือรบหลวงประแสเดินทางมาสู่ลุ่มน้ำประแส คณะทีมงานมีการปรับพื้นที่และเปิดประตูน้ำที่จะนำเรือรบขึ้นสู่แท่นที่ได้จัดเตรียมไว้ เมื่อเรือรบหลวงประแสเดินทางมาถึงปากน้ำประแส คณะทีมงานได้วางแผนนำเรือรบหลวงประแสเข้าสู่ฐานที่จัดเตรียมไว้ ณ หมู่ที่ 1 ตำบลปากน้ำประส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ในที่สุดก็แล้วเสร็จในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2546



เท่าที่สังเกต คนที่ขึ้นมาชมเรือรบหลวงประแสจะเป็นวัยรุ่นและครอบครัวทั้งนั้น ระหว่างเดินชม ทีมงานได้ยินเสียงพูดคุยและความสนอกสนใจกับส่วนต่างๆของเรือไม่ขาดปาก ถึงเรือรบจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความรู้สึกของประชาชนที่ขึ้นเรือเพียงไม่นานกลับดูใกล้ชิดและผูกพันเร็วมาก
บน – เรือรบหลวงประแสแบบเต็มลำจากด้านท้ายไปด้านหน้า (จากภาพ เรือลำนี้มีระวางขับน้ำแบบปกติอยู่ที่ 2,199 ตันและระวางขับน้ำเต็มที่ 2,277 ตัน ความยาวตลอดลำเรืออยู่ที่ 92.8 เมตร ความยาวแนวน้ำอยู่ที่ 87.3 เมตร และความกว้างมากที่สุดอยู่ที่ 11.5 เมตร ความกว้างแนวน้ำอยู่ที่ 11.3 เมตร)



 

เดินดูรอบๆเรือก่อนขึ้นเรือรบ
ซ้ายบน – เรามาดูด้านหน้าของเรือกันบ้าง (จากภาพ ในอดีต เรือลำนี้มีทหารประจำการทั้งหมด 216 นาย)
ขวาบน – ทีมงานพามาชมรายละเอียดส่วนกลางของเรือบ้าง ที่สำคัญก็คือ เสากระโดงเรือ ส่วนสำคัญๆจะอยู่บนเสานี้ เริ่มจากสายอากาศของเรดาร์(ที่คอยตรวจการณ์เป้าอากาศยาน) ไฟเรือ เสาการ์ฟ สายอากาศ GPS สายอากาศอากาศเดินเรือ(ที่คอยตรวจการณ์เป้าผิวน้ำ) และที่ยืนของยามตรวจการณ์
(จากภาพ นักท่องเที่ยวเสื้อเหลืองกำลังเดินถ่ายรูปอยู่บนเรือ)
-
เดี๋ยวเราขึ้นบันไดจากที่เห็นนี้ไปด้านบนกัน ซึ่งบันไดขึ้นมีทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นลงได้ทั้งสองฝั่ง
ซ้ายกลางบน – ทางเดินบนเรือ(ที่นักท่องเที่ยวเสื้อเหลืองเดินถ่ายรูปเมื่อสักครู่) (จากภาพ เราจะเห็นเสาสองแท่งเล็กๆเป็นคู่ตามขอบเรือตลอดลำ เสาคู่นี้เรียกว่า“พุก” ทำหน้าที่สำหรับพันเชือกใหญ่)
ซ้ายกลางล่าง – ปล่องไอน้ำของเรือรบ (จากภาพ เครื่องจักรของเรือลำนี้เป็นระบบไอน้ำชนิดข้อเสือข้อต่อ 2 เครื่อง กำลัง 5,500 แรงม้า ใบจักรคู่)
ซ้ายล่าง – สะพานเดินเรือหรือห้องควบคุมการเดินเรือ ซึ่งอยู่ชั้นบนสุดของเรือ (จากภาพ ความเร็วสูงสุดของเรือคือ 20.3 นอต มัธยัสถ์ 15 นอต และรัศมีทำการที่ความเร็วสูงสุดคือ 3,440 ไมล์ รัศมีทำการที่ความเร็วมัธยัสถ์คือ 7,383 ไมล์)
ขวาล่าง – แท่นยิงอาวุธปราบเรือดำน้ำชนิดเฮดจฮอก 1 แท่นบริเวณหน้าเรือ ขณะที่มุมไกลคือ เครื่องกว้านสมอเรือ ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยสมอและดึงสมอเก็บเข้าที่

TODAY THIS MONTH TOTAL
364 5301 297693
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top