มัสยิดรายา

คำอธิบาย


มัสยิดรายาตั้งอยู่บนพื้นที่ติดกับเขาสลินดงบายูในเนื้อที่ 3 งาน 48 วา สร้างเมื่อปี พ.ศ.2428 โดยสถาปนิกจากชวาไม่ทราบชื่อและช่างท้องถิ่น ภายใต้การกำกับดูแลของพระยาสายบุรี(หรือพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสายบุรีตะลุบันคนแรก มัสยิดรายาเป็นมัสยิดประจำราชวงศ์และเป็นมัสยิดประจำเมือง รวมทั้งเป็นที่ฝั่งศพของคนในตระกูลสายบุรี ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี



เมื่อมองจากด้านนอกอาคาร โครงสร้างมัสยิดรายาเข้าข่ายความคลาสสิกได้เลย เพราะดูเก่า แต่สวยสะดุดตา มัสยิดหลังนี้ยังเป็นมัสยิดแห่งแรกของเมืองสายบุรีด้วย แถมอยู่ใจกลางเมืองอีก กิจกรรมสำคัญทางศาสนาต่างๆจึงเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้
บน – บรรยากาศจากถนนด้านนอกมัสยิดรายา (จากภาพ หลังคาทางซ้ายหน้าสุดคือ ที่อาบน้ำละหมาด ต่อไปเป็นอาคารมัสยิดรูปทรงสี่เหลี่ยมหลังคาทรงปั้นหยา ซึ่งมีสามหลังคา หลังคาที่หนึ่งคือ หลังคาด้านหลังที่ยื่น(จากหลังคาที่อาบน้ำละหมาด)ออกมาทางซ้ายเล็กน้อย ใต้หลังคานั้นคือ เฉลียงหน้ามัสยิด ส่วนหลังคาที่สองและสามอยู่ตรงกลางและทางขวา ซึ่งเป็นโถงละหมาด สมัยก่อนมัสยิดรายาเป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนด้วยเปลือกหอย พื้นทำด้วยอิฐแดง โครงหลังคาเป็นไม้และปูด้วยกระเบื้องดินเผา(หรือแบบมินังกาเบา) มีสถาปัตยกรรมมาจากชาวชวาทั้งหมด ต่อมาประมาณก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการรื้อศาลาและขยายระเบียง แต่การต่อเติมมีความผิดพลาดด้านโครงสร้าง ทำให้พังลงมา จึงถูกทิ้งร้างไป ภายหลังกรมศิลปากรเข้าสำรวจและทำการบูรณะปรับปรุงครั้งใหญ่จนมีความสวยงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน)



 

ทีมงานพร้อมเดินเข้าด้านในแล้ว
ซ้ายบน – อีกด้านหนึ่งของอาคารมัสยิด (จากภาพ บนหลังคาที่สาม เราจะเห็นโดมลูกแก้วสำหรับเพิ่มแสงสว่าง ซึ่งเปรียบเสมือนดวงจันทร์ที่อยู่บนหลังคามัสยิด ซึ่งในภาพ“บน”ก็เห็นเช่นกัน เพียงแต่โดนใบของต้นหมากบังไปบางส่วน)
ขวาบน – เฉลียงหน้าอาคารมัสยิด เราจะเห็นโครงหลังคาเป็นไม้อย่างชัดเจน (จากภาพ หลังคาด้านบนที่เห็นนี้ก็คือ หลังคา(ที่อยู่ด้านหลังหลังคาที่อาบน้ำละหมาด)ที่ทีมงานบอกว่า ยื่นออกมาทางซ้ายเล็กน้อยนั่นเอง)
ซ้ายกลางบน – ด้านข้างอาคารมัสยิดมีบันไดขึ้นลงอยู่เป็นระยะ
ซ้ายกลางล่าง – ทางเดินข้างอาคารมัสยิดอีกฝั่ง
ซ้ายล่าง – จุดอาบน้ำละหมาด
ขวาล่าง – โถงละหมาด (จากภาพ มัสยิดแห่งนี้ เจ้าเมืองสร้างไว้เพื่อเป็นที่ทำศาสนกิจของชาวบ้านเพราะสายบุรีเป็นพื้นที่ของเจ้าเมือง ทั้งบ้านของนางสนมและแม่ครัวก็อยู่บริเวณนี้ จึงสร้างมัสยิดหลังนี้เพื่อให้ชาวบ้านในละแวกได้ทำพิธีละหมาด อีกทั้งเป็นที่สอนอัลกุรอ่านของลูกหลานเจ้าเมืองและนางสนมโดยเจ้าเมืองจะเชิญโต๊ะครูที่บ้านกะลาพอมาสอนอัลกุรอ่านให้)


TODAY THIS MONTH TOTAL
509 5446 297838
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top