ถ้ำเอราวัณ

คำอธิบาย


ตามประวัติความเป็นมาของถ้ำเอราวัณ ไม่มีหลักฐานว่า ผู้ใดเป็นคนค้นพบและค้นพบเมื่อใด แต่ปรากฏหลักฐานว่า ชาวบ้านเรียกถ้ำแห่งนี้ว่า"ถ้ำช้าง"ตามชื่อของภูเขา นั่นคือ"ภูผาถ้ำช้าง"

ต่อมา พระครูปลัดฝั่น ปาเรสโก ได้ธุดงค์มาพักปฏิบัติธรรมที่เชิงเขา ท่านเห็นว่า เป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนา จึงมีศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างช้างเอราวัณเอาไว้ตรงเชิงบันไดขึ้นถ้ำ จึงเรียกชื่อถ้ำแห่งนี้ใหม่ว่า"ถ้ำเอราวัณ"มาถึงทุกวันนี้ ผู้มาเที่ยว เมื่อเห็นช้างเอราวัณ จึงเรียกชื่อนี้ตามๆกันเนื่องจากเป็นชื่อที่ไพเราะและมีความหมายตามวรรณกรรมพื้นบ้านของชาวอีสานเรื่องนางผมหอม คำว่า"ถ้ำช้างหรือภูผาถ้ำช้าง"จึงไม่ค่อยมีใครรู้จักกันในปัจจุบัน นอกจากคนในพื้นที่ใกล้เคียงและคนเก่าแก่

ที่ตั้งปัจจุบันของถ้ำเอราวัณอยู่ในเขตวัดถ้ำเอราวัณ ซึ่งเป็นวัดสังกัดธรรมยุตินิกาย ลักษณะทั่วไปของถ้ำเอราวัณอยู่บนภูเขาหินแข็งทอดยาวสลับซับซ้อน กั้นเขตแดนระหว่างรอยต่ออำเภอเอราวัณของจังหวัดเลยและอำเภอนาวังของจังหวัดหนองบัวลำภู ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองของบ้านผาอินทร์แปลง



ถ้าพูดถึงถ้ำในจังหวัดหนองบัวลำภู ถ้ำเอราวัณน่าจะเป็นชื่อแรกๆที่นักท่องเที่ยวต้องปักหมุดมาเยือน เนื่องจากเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่มีทั้งหินงอกหินย้อย ปล่องถ้ำ(ที่ทะลุสาดเป็นแสงลงมา) และจุดชมวิว ทั้งหมดทั้งมวลทำให้ทีมงานเห็นนักท่องเที่ยวมาขึ้นบันไดตลอด โดยเฉพาะคนสูงวัยที่มาเยอะกว่าที่คิดไว้
- ทีมงานขอเดินขึ้นถ้ำทันที
ซ้ายบน – ก่อนขึ้นเขาจะมีลานกว้างอยู่ บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของช้างเอราวัณที่นักท่องเที่ยวต่างมากราบไหว้ (จากภาพ ด้านซ้ายของช้างเอราวัณถัดออกไปเป็นพื้นที่ของวัดถ้ำเอราวัณซึ่งมีกุฏิพระอยู่ ส่วนฝั่งตรงข้ามกุฏิคือ ศาลาการเปรียญ และด้านหลังช้างเอราวัณที่เป็นต้นไม้สีเขียวๆในภาพก็คือ บันไดขึ้นเขา)
ขวาบน – บันไดขึ้นเขาช่วงแรก (จากภาพ กลางทางของบันไดมีศาลาให้นั่งพักเหนื่อยและหลบร้อนด้วย)
ซ้ายกลางบน – เดินแบบเรื่อยๆมาเรียงๆ ตอนนี้ก็ถึงช่วงท้ายของขั้นบันไดแล้ว เราจะเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หน้าปากถ้ำ
ซ้ายกลางล่าง – มาชมพระพุทธรูปหน้าถ้ำใกล้ๆกัน (จากภาพ ด้านหน้าพระพุทธรูปมีพื้นที่ให้กราบไหว้พร้อม)
- เดินเข้าถ้ำเลย
ซ้ายล่าง – ภายในถ้ำมีโถงถ้ำขนาดสูงใหญ่จนตัวคนดูเล็กไปถนัดตา
ขวาล่าง – ธรรมชาติยังคงสวยงามไม่หยุดหย่อน ตอนนี้ได้เวลาที่ปล่องถ้ำจากยอดเขาวาดลวดลายเล่นแสงเงาแล้ว



 

อยู่ในถ้ำต่อ
ซ้ายบน – หินงอกหินย้อยและถ้ำย่อยมากมายมีให้เห็นตลอดทาง เช่น ถ้ำนางผมหอม เห็ดหิน เจดีย์หิน ฯลฯ (จากภาพ จุดนี้เป็นหินงอกที่มีรูปทรงคล้ายช้าง จึงเรียกว่า ช้างหิน)
ขวาบน – นักท่องเที่ยวทุกคนกำลังเดินมาถึงปากถ้ำอีกด้าน เบื้องหน้าคือ บันไดคอนกรีตขึ้นปากถ้ำเพื่อชมทิวทัศน์ด้านบน
ซ้ายกลาง – จากปากถ้ำด้านบน ทีมงานลองหันไปมองในถ้ำที่เพิ่งเดินผ่านมาสักหน่อย
ขวากลาง – หน้าตาของจุดชมวิวที่นักท่องเที่ยวเดินขึ้นมา พื้นที่เหยียบเป็นหินทั้งหมดและพื้นไม่เสมอกัน แต่มีราวเหล็กกั้นไว้
ขวาล่าง - วิวบางส่วนบริเวณจุดชมวิว ต้นไม้จากภูเขาด้านบนขึ้นลดหลั่นลงไปถึงด้านล่าง
- จบจากเรื่องราวของถ้ำเอราวัณ ก็เข้าสู่ข้าวของเครื่องใช้
ซ้ายล่าง -
ร้านค้าริมถนนใหญ่ฝั่งตรงข้ามกับซุ้มประตูทางเข้าวัดถ้ำเอราวัณ(ซึ่งเราสามารถเดินจากช้างเอราวัณด้านในหรือวัดถ้ำเอราวัณออกไปได้ ไม่ไกลอะไร)จะมีเพิงจำหน่ายสินค้าติดกันหลายเจ้า และบริเวณลานจอดรถในวัดถ้ำเอราวัณยังมีอาคารสินค้าหนึ่งหลังและแผงลอยสินค้าเช่นกัน
รายการสินค้า - เริ่มจากเพิงสินค้าริมถนนด้านนอกก่อน หมวดอาหารมี
ผัดไทย(หมูหรือทะเล) ผัดซีอิ๊ว(หมูหรือทะเล) ข้าวไข่เจียวหมูสับ เกาเหลา กะเพรา(หมูชิ้น หมูสับ หมูกรอบ ไก่ หมูชิ้น ทะเล และลูกชิ้น) คะน้า(หมูกรอบหรือหมูสด) ผัดพริกแกง(ทะเล หมู หรือหมูกรอบ) ข้าวผัดหมู ข้าวผัดทะเล ไก่ย่าง ปลาเผา ต้มแซ่บ ส้มตำ ลาบขม ก้อย ขนมจีนสด ตำกล้วย และข้าวปุ้นฮ้อน เครื่องดื่มในตู้เย็นมีน้ำดื่มFresh ลิโพ กระทิงแดง ดีน่าสูตรจมูกข้าวญี่ปุ่น เอ็มร้อยห้าสิบ ดัชมิลล์โฟร์อินวัน โอวัลติน เป๊ปซี่ สไปรท์ โค้ก แฟนต้า(น้ำส้ม น้ำแดง และน้ำเขียว) น้ำผลไม้กาโตะ โออิชิรสองุ่นเคียงโฮผสมวุ้นมะพร้าว ไวตามิลค์ และเนสกาแฟเอสเพรสโซโรสต์ เครื่องดื่มปรุงที่ร้านมีกาแฟเย็น ชาเขียว ชาเย็น น้ำเขียวมะนาวโซดา น้ำแดงมะนาวโซดา โอเลี้ยง โกโก้ และนมเย็น รวมทั้งน้ำอัดลมใส่แก้วน้ำแข็งคือ โค้ก แฟนต้า(น้ำแดง น้ำส้ม และน้ำเขียว) เป๊ปซี่ และสไปรท์ ของกินอื่นๆยังมีไอศกรีมกะทิสดและหน่อไม้สด ส่วนสินค้าด้านใน เริ่มจากในอาคารมียาสมุนไพร(เช่น ยาหอม น้ำมันคลายเส้น ยาหม่อง ฯลฯ) ของเล่นเด็ก หมวก ผลิตภัณฑ์จากไม้(เช่น ทัพพี ดาบ พัด ฯลฯ) พวงกุญแจ และเสื้อที่ระลึกถ้ำเอราวัณ ส่วนแผงเล็กๆที่กระจายอยู่ตามลานจอดรถมีดูดวงด้วยไก่จิกไพ่ ข้าวโพดต้ม และสลากกินแบ่ง

TODAY THIS MONTH TOTAL
349 854 301315
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top