ทุ่งหินเทินอยู่ในตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบที่มีแต่ก้อนหินแกรนิตขนาดใหญ่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยบางก้อนมีขนาดใหญ่หลายตัน สิ่งที่อัศจรรย์คือ การเรียงตัวและการทับซ้อนกันของก้อนหินทำให้เกิดทิวทัศน์และรูปร่างที่แปลกตา สำหรับปรากฏการณ์นี้ยังไม่แน่ชัดว่า เกิดขึ้นในยุคใด ปัจจุบันทุ่งหินเทินอยู่ในเขตวัดทุ่งหินเทินและอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวทุ่งหินเทินที่อยู่ห่างกันราว 300 เมตร
ถ้าทีมงานไม่รู้มาก่อนว่า หินแกรนิตหนักเป็นตันๆเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คงแอบคิดทันทีว่า บางก้อนอาจมีการจัดฉากก็เป็นได้เพราะดูไม่ชอบมาพากลจริงๆ แต่ในเมื่อสิ่งที่เห็นตรงหน้าคือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติล้วนๆ เลยคิดได้ว่า เรื่องบังเอิญบนโลกนี้ยังรอให้เราพบเจออีกมากมายเป็นแน่
บน – หินแกรนิตที่กองพะเนินอยู่ตามพื้นราบเป็นบริเวณกว้างจนมีสภาพคล้ายทุ่งนาของหิน ทำให้เกิดทัศนียภาพที่น่าฉงน ไม่ว่าเดินไปทางไหน นักท่องเที่ยวก็จะพบกองหินมากมายแบบนี้ (จากภาพ หินแกรนิดที่มีการเย็นตัวอยู่ใต้ผิวโลกและมีรอยแตกทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ จะมีการยกตัว เมื่อมีการยกตัวขึ้น แรงกดจากด้านบนที่เคยกด ก็จะลดลง เมื่อแรงกดลดลง การผุพังทางกายภาพทำให้หินแกรนิตแตกออกเป็นกาบๆ หินแกรนิตจึงมีความกลมมนและทับซ้อนกัน โดยลักษณะความกลมมนและการทับซ้อนของหินแกรนิดแต่ละก้อน ก็มาจากความถี่ห่างของแนวแตก ซึ่งแนวแตกนี้จะเป็นตัวควบคุมขนาดของก้อนหินที่เราเห็นนั่นเอง)
อะไรเทินกันยังไง เราไปสำรวจดีกว่า
ซ้ายบน – หินก้อนนี้คล้ายกับหัวของงู ส่วนเปลือกหินที่แตกเป็นสีขาวด้านบนก็ประจวบเหมาะกับดวงตาพอดี
ขวาบน – หินมุมนี้แตกเป็นสองแผ่น ดูแล้วควรจะลื่นไถลลงมาตามความลาดเอียงจริงๆ แต่กลับแตกค้างอยู่อย่างนั้น
- คราวนี้เรามาชมหินที่เทินกันจนเป็นที่มาของชื่อสถานที่แห่งนี้
ซ้ายกลาง – หินสามก้อนนี้เทินกันจนเหมือนประติมากรรมทีเดียว หินก้อนเล็กด้านล่างเปรียบเสมือนลิ่มค้ำหินก้อนใหญ่ตรงกลางไว้ ทำให้ก้อนบนสุดตั้งฉากอยู่อย่างนั้นได้
ขวากลาง – เซ็ตนี้ทำให้ทีมงานสงสัยว่า ใช่ฝีมือของธรรมชาติจริงๆเหรอเนี่ย ทีมงานยืนมองอยู่นานโข หินก้อนบนตั้งวางเหมือนหัวจรวดเลย เมื่อมีหินสองก้อนด้านล่างเป็นฐาน จึงราวกับล้อของยานสำรวจดาวเคราะห์ไม่มีผิด (จากภาพ ชาวบ้านเรียกหินกลุ่มนี้ว่า"ลูกจรวด")
ขวากลาง – ยังไม่เชื่อสายตาตัวเอง ทีมงานพามาดูอีกมุมหนึ่ง จรวดลำนี้ตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่อีกที โดยล้อทางซ้ายจะหล่นแหล่ไม่หล่นแหล่อยู่แล้ว แต่ถูกน้ำหนักหินที่เป็นจรวดด้านบนกดทับไว้ ทุกอย่างเลยสมดุลอย่างที่เห็น
ซ้ายล่าง – ทุ่งหินเทินอยู่ในเขตวัดทุ่งหินเทิน มีการแยกสัดส่วนที่พำนักสงฆ์กับเขตทุ่งหินเทินอย่างชัดเจน แต่โดยรอบทุ่งหินเทินก็มีศาลาวัดและพระธาตุทุ่งหินเทินด้วย รวมทั้งโบสถ์ทุ่งหินเทินตามที่เห็นอยู่ในภาพ
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
506 | 5443 | 297835 |