กู่สันตรัตน์อยู่ที่บ้านกู่โนนเมือง ตำบลกู่สัตนรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม กู่สันตรัตน์เป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาลหรือ“อโรคยาศาล” สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม กู่สันตรัตน์ประกอบด้วยประสาทประธาน วิหาร โคปุระ และบาราย โบราณวัตถุที่ค้นพบคือ พระวัชรธร พระพุทธรูปนาคปรก และพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประติมากรรมหินทรายเหล่านี้เป็นรูปเคารพในพุทธศาสนาลัทธิมหายานและเป็นศิลปะขอมแบบบายนราวปี พ.ศ.1720 - พ.ศ.1780
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2478 และประกาศขอบเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2525 พื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา
กู่สันตรัตน์มีบรรยากาศที่เงียบสงบ สนามหญ้าก็สวย ทิวทัศน์ก็ร่มรื่น ที่พิเศษคือ ต้นไม้รอบกู่แข่งกันประกวดผลผลิตน่าดู ผลตะโกกำลังโต ผลบักค้อกำลังเปรี้ยว ยังมีผลอะไรต่อมิอะไรกำลังสุกอีก ไปๆมาๆทีมงานดูโบราณสถานไปด้วย ดูสวนผลไม้ไปด้วย ก็เพลินดี
บน – กู่สันตรัตน์มองแล้วสบายตา แม้โบราณสถานจะอยู่กลางแจ้งท่ามกลางแดดจ้า แต่สีเขียวของต้นหญ้าและใบไม้รอบข้างก็สร้างความชุ่มชื่นได้ (จากภาพ กู่สันตรัตน์ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ส่วนทางขวาคือ โคปุระหรือทางเข้าสู่ด้านใน)
ไปศึกษาเรื่องราวศิลาแลงกัน
ซ้ายบน – โคปุระคืออาคารซุ้มประตูสำหรับเข้าสู่กู่ด้านใน เดี๋ยวเราเข้าไปด้านในดีกว่า (จากภาพ จุดนี้คือ ด้านหน้าของโคปุระ)
ขวาบน – บรรยากาศภายในกู่สันตรัตน์ ทางซ้ายสุดคือ โคปุระ อาคารตรงอักษร www คือ วิหาร และขวาสุดก็คือ ปราสาทประธาน
ซ้ายกลาง – ปราสาทประธาน (จากภาพ ประสาทประธานเป็นทรงสี่เหลี่ยมก่อมุมเพิ่มมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า)
ขวากลาง – ด้านข้างของปราสาทประธาน
ซ้ายล่าง – วิหาร (จากภาพ วิหารนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มุขด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย)
ขวาล่าง – นอกกำแพงแก้วออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีบาราย(หรือสระน้ำ)รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงอยู่ (จากภาพ สระน้ำนี้มีปลาชุมทีเดียว)
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
435 | 5372 | 297764 |