ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร(หรือป่าพรุโต๊ะแดง) ชาวบ้านที่อาศัยรอบผืนป่าพรุแห่งนี้สมัยก่อนจะเรียกชื่อผืนป่าแตกต่างกันตามท้องถิ่น บางพื้นที่เรียกตามชื่อหมู่บ้าน บางพื้นที่เรียกตามชื่อบุคคลแรกที่เข้าไปบุกเบิก บางพื้นที่ก็เรียกตามสัญลักษณ์ที่โดดเด่นในป่าพรุ โดยชาวบ้านจะเรียกชื่อผืนป่าแห่งนี้ด้วยคำขึ้นต้นว่า“ฮูแตตูวอ” “ฮูแต”แปลว่า“ป่า” “ตูวอ”แปลว่า“แก่” นั่นคือ“ป่าแก่”หรือป่าที่มีอายุมากนั่นเอง
การเรียกชื่อป่าพรุในแต่ละพื้นที่จะเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ที่อำเภอสุไหงปาดีจะเรียกชื่อป่าพรุโต๊ะแดงว่า“ฮูแตตูวอโรแต”แปลว่า“ป่าแก่ ต้นหวาย”เนื่องจากมีหวายเป็นจำนวนมาก อำเภอตากใบเรียกป่าพรุโต๊ะแดงว่า“ฮูแตตูวอโคกอิฐ”แปลว่า“ป่าแก่โคกอิฐ”เพราะ ที่นั่นมีโคกหรือเนินดิน ซึ่งมีซากอิฐและซากถ้วยชามอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนคำว่า“ป่าพรุโต๊ะแดง”มาจากการเรียกชื่อหมู่บ้านโต๊ะแดงในอำเภอสุไหงโก- ลกที่ตั้งอยู่กลางผืนป่าพรุ ดังนั้น ผืนป่าใกล้เคียงหมู่บ้านแห่งนี้ จึงเรียกว่า“ฮูแตตูวอโต๊ะแดง”แปลว่า“ป่าแก่โต๊ะแดง”ตามชื่อหมู่บ้านไปด้วย ต่อมาเมื่อศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรได้ก่อสร้างอาคารสำนัก งานในเขตท้องที่หมู่บ้านโต๊ะแดง จึงได้เรียกผืนป่าแห่งนี้ว่า“ป่าพรุโต๊ะแดง”ตามชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานกัน ภายหลังที่ศูนย์วิจัยป่าพรุสิรินธรเปิดบริการให้นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการและประชาชน จึงเป็นที่รู้จักในนาม“ป่าพรุโต๊ะแดง”นั่นเอง
ปัจจุบัน ถือว่าเป็นป่าพรุขนาดใหญ่สุดที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทาง ชีวภาพ โดยป่าพรุโต๊ะแดงมีสายน้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่านได้แก่ แม่น้ำบางนรา คลองสุไหงปาดี และคลองโต๊ะแดง ขณะที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติทางบกของป่าพรุโต๊ะแดงแบ่งเป็น 2 เส้นทางคือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติพันธุ์ไม้ป่าพรุและเส้นทางศึกษาธรรมชาติพันธุ์ไม้ป่าพรุและต้นปาล์มสาคู
ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าพรุที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ไม่บ่อยนักที่นักท่องเที่ยวจากภาคอื่นๆจะได้มาสัมผัส ทีมงานมีโอกาสมาเยือนปลายด้ามขวานทั้งที ถ้าไม่แวะเข้าไปเช็กอิน ก็คงผิดวิสัยการเดินทางแน่ๆ และเพียง 7 กิโลเมตรจากป่าคอนกรีตสู่ป่าธรรมชาติผืนใหญ่ ต้นไม้สีเขียวก็ล้อมตัวเราทันที
- บริเวณปากทางเข้าจะมีป้ายศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเพื่อบอกให้นักท่องเที่ยวทุกคนรับรู้ว่า เราถึงเป้าหมายแล้ว สำหรับจุดออกตัวจะเป็นทางเดินไม้เข้าป่าพรุ ระหว่างทางก่อนเข้าป่าพรุจะผ่านศาลาชมทิวทัศน์ด้วย
ซ้ายบน – จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของทางเดินไม้(ก่อนเข้าสู่เส้นทางศึกษาธรรมชาติ) เราสามารถนั่งพักและฟังคำบรรยายได้ ขณะที่ประตูไม้สีแดง(ทางขวา)ถัดไปคือเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุซึ่งทีมงานกำลังจะเข้าไป
ขวาบน – ก่อนทางเข้าป่าพรุ เราจะเห็นบึงน้ำตื้นของป่าพรุ ซึ่งตรงกับลักษณะของป่าพรุ นั่นคือ เป็นป่าดิบชื้น บริเวณนี้มีกอต้นไผ่แดงอยู่เยอะทีเดียว
- เส้นทางเดินในป่าพรุแยกออกเป็นสองส่วนคือ ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุและทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุกับต้นปาล์มสาคู เรามาเริ่มทัศนะศึกษาป่าพรุก่อน
ซ้ายกลาง - ระหว่างทางจะมีรายชื่อต้นไม้กำกับตามป้ายอยู่เป็นระยะให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักต้นไม้ (จากภาพ ป้ายกระจกทางขวาคือ ต้นกะพ้อแดง)
ซ้ายล่าง – นอกจากนี้ยังมีที่นั่งพักให้นักท่องเที่ยวเช่นกัน (จากภาพ ป้ายกระจกทางซ้ายคือคำอธิบายเกี่ยวป่าพรุ ขณะที่ป้ายทางขวาคือ ต้นคันหามเสือ)
ขวาล่าง – ต้นไม้ในป่าพรุโต๊ะแดงขึ้นสูงชะลูดทุกต้นอย่างที่เห็น
ธรรมชาติของป่าพรุมีอะไรให้น่าค้นหาอีก
ซ้ายบน – ภายในป่าพรุเป็นหล่มเลนตลอดทาง แอ่งน้ำมีแฉะบ้าง เปียกชื้นบ้าง ขณะที่กองใบไม้และกิ่งไม้แห้งทับถมกันทุกที่ จัดเป็นซากอินทรียวัตถุชั้นดี
ขวาบน – เมื่อเดินลึกเข้าไป ต้นไม้ขนาดเล็กและกลางเริ่มขึ้นขวางทางเดินไปมา กลายเป็นเสน่ห์ของทางเดินศึกษาธรรมชาติที่ทำให้เราใกล้ชิดป่าพรุมากขึ้น (จากภาพ ลักษณะป่าพรุจะดูรกๆเนื่องจากมีไม้รอเลื้อยกับเถาวัลย์ที่พาดผ่านและพันเกี่ยวต้นไม้ใหญ่มากมาย)
ซ้ายกลาง – ต้นไม้ใหญ่ก็ขึ้นขวางเป็นซุ้มประตูให้เราต้องเดินลอดผ่านด้วย
- กลุ่มพันธุ์ไม้ในป่าพรุโต๊ะแดงที่ทีมงานเห็นมากก็มีฝาดขาว สะเตียว ตังหนใบใหญ่ ปาหนันช้าง หลุมพี หว้าหิน และชมพู่เสม็ด ส่วนต้นอื่นๆก็เช่น ตาลปัตรฤาษี ครี้ หัวหงอก ชะเมาน้ำ หมากงาช้าง สักน้ำ เลือดควายใบใหญ่ กะพ้อแดง พิกุลพรุ ระไมป่า ตารา หมูผอม สังขยา มะฮังใหญ่ สันตะวาใบพาย เตยย่านน้อย อกปลาช่อน ก๋าย ช้างไห้ จันทร์ป่า กล้วย สะท้อนพรุ กะลูแป ชะมวงป่า ข้าหลวงหลังลาย ขุนแท่น รัศมีเงิน กะทังป่า ขี้หนอนพรุ สังเครียด กง เที้ยะ กระบุย อ้ายบ่าว ฯลฯ ตอนนี้ทีมงานพามาชมดอกไม้ระหว่างทางสักหนึ่งต้น
ขวากลาง – นิ้วมือพระฤาษี (จากภาพ นิ้วมือพระฤาษีเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย อิงอาศัยบนต้นไม้สูงอื่นๆ กิ่งอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกมีขนสั้นๆประปราย ออกดอกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน นิ้วมือพระฤาษีมักขึ้นในป่าดงดิบ มีการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทย ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย)
- จากที่บอกไป ยังมีทางเดินศึกษาธรรมชาติของต้นปาล์มสาคูอยู่ในป่าพรุอีกหนึ่งเส้นทาง เราย้อนกลับไปพร้อมๆกัน
ซ้ายล่าง – เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติโซนนี้มีเอกลักษณ์ตรงศาลากระจกที่แสดงความเป็นมาของต้นปาล์มสาคู รวมทั้งการนำต้นปาล์มสาคูมาทำให้เกิดประโยชน์โดยจำลองความเป็นอยู่ของชาวบ้านมาให้ชม ทุกศาลามีป้ายอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เดี๋ยวทีมงานจะพาไปทำความรู้จัก (จากภาพ การจำลองวิถีชีวิตทำแป้งสาคูในศาลากระจกพร้อมคำอธิบายให้ชมเป็นระยะๆช่วยสร้างความกระจ่างของชุมชนได้เป็นอย่างดี)
ขวาล่าง – ทางเดินบางช่วงเป็นดงของต้นจั๋ง
เดินเพลินเลย ความรู้มีอยู่รอบตัวจริงๆ
ซ้ายบน – บรรยากาศป่าพรุโซนต้นสาคูก็ไม่ต่างจากป่าดิบชื้นโซนอื่นๆ ทุกอย่างยังดูรกๆ
ขวาบน – แอ่งน้ำและความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตในป่าพรุ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์
- ได้เวลาเก็บเกี่ยวความรู้ต้นปาล์มสาคูจริงๆจังๆ
ขวากลาง – โซนนี้มีต้นปาล์มสาคูขนาดใหญ่มากมายเป็นดงทึบเลย
ซ้ายกลาง – ต้นสาคูเพิ่งแตกหน่อเป็นต้นเล็กและมีต้นขนาดกลางอยู่ข้างๆ ขณะเดียวกัน ใบแห้งๆของต้นปาล์มสาคูก็ร่วงกระจายทั่วบริเวณ
- ก่อนหน้านี้ทีมงานติดค้างเรื่องศาลากระจก ตอนนี้เข้าไปทำความรู้จักตัวอย่างเนื้อหาดีกว่า
ซ้ายล่าง – ฉากนี้เป็นการจำลองการตากแป้งที่ได้จากต้นปาล์มสาคู
ขวาล่าง – ขณะที่ฉากนี้เป็นการจำลองการย่างแผ่นสาคูบนเตา นับเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สามารถปรับตัวเข้ากับธรรมชาติและนำสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
289 | 5226 | 297618 |