บ้านทอนเป็นหมู่บ้านติดทะเลในตำบลโคกเคียน สิ่งที่สร้างชื่อเสียงก็คือ การทำเรือกอและ ซึ่งเป็นเรือประมงที่นิยมใช้ในแถบภาคใต้ตอนล่าง มีทั้งแบบจำลอง(เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก)จากฝีมือชาวบ้านและแบบขนาดจริง(สำหรับงานประมง)ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนในการทำ ส่วนสินค้าโอทอปอื่นๆยังมีกรอบรูปลายต่างๆและงานจักสานกระเป๋าหรือเสื่อ(ที่ทำจากใบของต้นกระจูด)
บ้านทอนเป็นหมู่บ้านริมทะเลที่เงียบสงบและมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ผู้คนใช้ชีวิตแบบสบายๆ บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียวและสองชั้น มีร้านของชำในหมู่บ้าน มีเพิงไม้เล็กๆจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวริมทะเล และมีตลาดนัดสัปดาห์ละสองครั้ง เหนืออื่นใด ฝีมือของผู้คนที่นี่เองที่นำพาทีมงานให้มาพบกับเนื้อหาครั้งนี้
บน – บ้านทอนเป็นหมู่บ้านติดทะเลและมีถนนวิ่งผ่านเลียบชายหาดตามภาพ (จากภาพ ขวามือคือ บ้านเรือนผู้คนที่ตั้งกระจายอยู่ริมหาด ส่วนทางซ้ายไม่มีบ้านอาศัย แต่จะเป็นหาดทรายและทะเลเลย)
เราไปติดตามสินค้าโอทอปที่ขึ้นชื่อของบ้านทอนก่อน นั่นก็คือ โมเดลจำลองจากฝีมือชาวบ้าน ซึ่งทุกคนจะได้รับการฝึกสอนจนเกิดความชำนาญ ก่อนนำไปประกอบเป็นอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โมเดลจำลองมีหลายขนาดและราคาให้เลือก ไอเดียต่างๆก็นำจุดเด่นของจังหวัดนราธิวาสมาสร้างสรรค์เป็นผลงานทั้งหมด
ซ้ายบน - ใบไม้สีทองหรือย่านดาโอ๊ะ(ที่แห้งแล้ว)นำมาจัดเรียงสวยงามอยู่ในกรอบ นอกจากนี้ยังมีว่าวบุหลันและเรือกอและอยู่ในกรอบให้เลือกด้วย
ขวาบน – เรือกอและจำลอง(ที่มีให้เลือกหลายขนาด)
ซ้ายกลางบน – โมเดลมัสยิดสามร้อยปีจำลองที่ทำจากชิ้นไม้เล็กๆประกอบขึ้นมาอย่างพิถีพิถัน
- ต่อไปเราไปพบกับสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้บ้านทอน นั่นคือ การทำเรือกอและ ขั้นตอนคร่าวๆก็คือ นายช่าง(หรือช่างต่อเรือ)จะนำไม้มาเผาประมาณ 1 วันเพื่อดัดไม้ จากนั้นก็ประกอบโครงเรือ โดยเริ่มจากบริเวณฐานหรือ“กระดูกงู” ต่อด้วย“ท้องเรือ” แล้วจึงเป็น”กง” รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆอีก เมื่อต่อเรือจนเสร็จสมบูรณ์ ก็ลงสีสันบริเวณข้างเรือ(โดยสอดแทรกภาพวิถีชีวิตท้องถิ่นลงไปในลวดลาย)เพื่อความสวยงาม โดยปกติการทำเรือหนึ่งลำจะใช้เวลา 4-6 เดือน
ขวากลางบน – เรือกอและลำนี้ขึ้นโครงท้องเรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว (จากภาพ ถ้าสังเกตดีๆ การขึ้นโครงจะสัมฤทธิ์ผลได้ ลวดที่ใช้รัดตัวโครงมีส่วนสำคัญอย่างมาก)
ซ้ายกลางล่าง – แผ่นไม้ที่ช่างทาสีอยู่คือ ไม้กง(ที่วางขวางตามแนวท้องเรือ)
ขวากลางล่าง – การที่เรือกอและจะเสร็จสมบูรณ์ได้นั้น ขั้นตอนการลงสีฉูดฉาดเพื่อสะท้อนถึงวิถีชีวิตชุมชนแต่ละพื้นที่ก็เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับเรือกอและลำนี้เป็นเรือท้ายตัด ซึ่งอยู่ด้านหลัง เราถือว่าเป็นเรือกอและชนิดหนึ่ง เพียงแต่ด้านท้ายเรือไม่มีแหลมเชิดสูงออกมาเหมือนด้านหัวเนื่องจากท้ายเรือ ต้องวางเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นการดัดแปลงไปตามยุคสมัย)
- อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึงคือ การทำประมง
ซ้ายล่าง - เรือท้ายตัดจอดเรียงรายบนชายหาดอยู่ใต้สแลนบังแดดในวันที่ไม่ได้ออกจับปลา
ขวาล่าง – ริมหาดจะมีโซนทำปลาแห้งเช่นกัน เพิงหลังนี้ทำปลาแห้งโดยเฉพาะ มีทั้งเตาต้มน้ำ ตะแกรงตากปลา ไม้ฟืน กาบมะพร้าว และราวไม้(บนหาดทรายที่ไว้ตากปลามุมไกลบนหาด)
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
282 | 5219 | 297611 |